วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลูกเสือ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เงื่อนลูกเสือ




๑. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )

ประโยชน์
     ๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพเพื่อป้องกันไม่ให้ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
    ๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
    ๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
 
๒. เงื่อนพิรอด  ( Reef Knot หรือ Square Knot )              

                  

ประโยชน์
    ๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
    ๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
    ๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
    ๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
    ๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น     ๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน ( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )  

๓. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )

ประโยชน์ของเงื่อนขัดสมาธิ
    ๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน ( เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด ) หรือต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันก็ได้
    ๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
    ๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
    ๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
    ๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง ( ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ ) เช่น ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น - ลง 

๔. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)

 ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย  เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
    ๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
    ๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ






๕. เงื่อนกระหวัดไม้  (Two Haft Hitch)

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้
    ๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
    ๓. ผูกเชือกสำหรับโหน

๖. เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline ) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูด

 ประโยชน์
    ๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือ แพขึ้น - ลง ตามน้ำได้
    ๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดินหมุนได้รอบ ๆ เสาหลัก เชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์
    ๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง
    ๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู
    ๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ
    ๖. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน

๗. เงื่อกผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
    ๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้

๘. เงื่อนประมง ( Fishirman's  Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
    ๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
    ๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
    ๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
    ๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
    ๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
    ๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย


๙. เงื่อนผูกซุง ( A Timber Hitch )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
    ๒. ใช้ผูกทแยง
    ๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
    ๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย

๑๐. เงื่อนเก้าอี้ ( Chair Knot or ireman's Chair Knot ) **

ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่นโดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไประหว่างจุด ๒ จุด


เงื่อนผูกแน่น(Lashing ) มี ๓ ชนิด ได้แก่
    ๑. ผูกประกบ ( Sheer Lasning )
    ๒. ผูกกากบาท ( Square Lashing )
    ๓. ผูกทแยง ( Diagonal Lashing )

ผูกประกบ มีหลายวิธี เช่น ผูกประกบ ๒ ประกบ ๓

ผูกประกบ ๒ ใช้ต่อเสาหรือไม้ ๒ ท่อนเข้าด้วยกัน

           วิธีผูก   เอาไม้ที่จะต่อกันวางขนานกัน ให้ส่วนที่จะผูกวางซ้อนกันประมาณ ๑/๔  ของความยาว ( ต่อแล้วเสาจะตรง ) เอาเชือกที่จะผูกผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสาต้นหนึ่งเอาปลายเชือกพันบิดเข้ากับตัวเชือก ( แต่งงานกัน ) เอาลิ่มหนาเท่าเส้นเชือกคั่นระหว่างเสาทั้งสองรูป   จัดให้เงื่อนอยู่ใกล้ ๆ ปลายเสาด้านที่ซ้อนกันแล้วจับตัวเชือกพันรอบเสาทั้งสองจากปลายเสาเข้าใน   เรียงเส้นเชือกให้เรียบ พันให้เท่าความกว้างของเสาทั้ง ๒ ต้น ดังรูป ๒ เสร็จแล้วพันสอดเชือกเข้าระหว่างไม้เสาทั้งสองพันหักคอไก่ พันรอบเชือกที่พันเสาทั้ง ๒ ต้น ดึงรัดให้แน่น รูป ๓  แล้วผูกด้วยตะกรุดเบ็ดบนเสาอีกต้นหนึ่ง ( คนละต้นกับอันขึ้นต้น ) เหน็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
            ผูกประกบ ๓   เอาไม้ ๓ ท่อนมาเรียงขนานกัน เริ่มผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันกลางเอาปลายเชือกแต่งงานกันกับตัวเชือก แล้วเอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๓ ต้น เรียงเส้นเชือกให้เรียบร้อย พันให้มีความกว้างเท่าเสาทั้ง ๓ ต้น ( ก่อนพันอย่าลืมเอาลิ่มขนาดเส้นเชือกคั่นระหว่างเสา ) พันเสร็จแล้วหักคอไก่ระหว่างซอกเสาทั้ง ๓ ต้นให้แน่น แล้วผูกลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรูดเบ็ดทีเสาต้นริมต้นใดต้นหนึ่งเก็บซ่อนปลายเชือก ให้เรียบร้อย

ผูกกากบาท (Square Lashing )
วิธีที่ ๑ กากบาทแบบ Gilwell และแบบ Thurman

 วิธีผูก   เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง เอาปลายเชือก  แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑  เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา ( ซ้ายก่อนก็ได้ ) ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทาง
ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวาของไม้อันตั้งดึงเชือก   ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง     เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย  แล้วพันวนเรื่อย ๆ  ไปประมาณ ๓ - ๔ รอบ (หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน ) จึงพันหักคอไก่ ๒ - ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่  ไม้อันขวาง ( คนละอันกับขึ้นต้นผูก )

ผูกทแยง (Diang  Lashing )

           วิธีผูก   เอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๒ ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วดึงตัวเชือกไม้เสาทั้ง ๒ ต้น ตามมุมตรงข้ามคู่แรก ( มุมทแยง )  ประมาณ ๓ รอบ ( ทุกรอบดึงให้เชือกตึง ) แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้ามคู่ที่ ๒ อีก ๓ รอบ แล้วดึงเชือกพันหักคอไก่ ( พันรอบเชือกระหว่างไม้เสา ทั้งสอง ) สัก ๒ - ๓ รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
ประโยชน์
๑. ใช้ในงานก่อสร้าง
๒. ให้ผูกเสาหรือไม้ค้ำยัน ป้องกันล้ม
๓. ทำตอม่อสะพาน




ผูกตอม่อสะพาน ( Trestle )
อุปกรณ์ทำตอม่อสะพาน ด้วยไม้พลองหรือเสาเข็ม
๑. เสายาวพอสมควร จำนวน ๖ต้น ( ใช้พลองฝึก )
๒. เชือกมนิลาสำหรับผูก ๙ เส้น ขนาดโตพอสมควร ( ฝึกด้วยพลองเชือกยาว ๓ เมตร )
วิธีสร้าง   ฝึกด้วยไม้พลอง
๑. วางไม้พลอง ๒ อันขนานกันห่างกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของความยาว เป็นเสาตั้ง  ( leg )
๒. เอาไม้พลองอีก ๒ อัน วางทับลงบนไม้พลองคู่แรก ( leg ) ให้ปลายยื่นออกไปด้านละ ๑/๖ หรือ ๑/๘
๓. เอาเชือกวัดความยาวของพลอง ทบเชือกแบ่งเป็น ๘ และ ๑๖ ส่วน เลื่อนหัวเสาทั้ง ๒ อัน                                                       เข้าหากันอีกข้างละ  ๑/๑๖   เพื่อทำให้หัวเสาสอดเข้าหากัน
๔. เงื่อนที่ใช้ผูกใช้เงื่อนผูกกากบาทและผูกทแยง ( ตรงกลาง )
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเสาหรือไม้ให้ยาว
๒. ทำตอม่อสะพาน เสาธงลอย
๓. ทำนั่งร้าน ทำหอคอย












การเก็บเชือก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น