คำสุภาษิต คือคำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี คำสุภาษิตมักจะแต่งให้คล้องจองฟังแล้วระรื่นชื่นหู เพื่อให้จดจำได้ง่ายและเกิดการใช้งานได้บ่อย หลายครั้งที่เราได้พบกับคำสุภาษิตจากสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ เราอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจในความหมายของมันก็ได้ ในวันนี้
www.tewfree.com ได้รวบรวมความหมายของคำสุภาษิต คำพังเพย ไทยๆ มาไว้ที่นี่ครบๆแล้วครับ
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
คำสุภาษิต
คำสุภาษิตมักจะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย เมื่อฟังแล้วบางครั้งมักจะไม่ค่อยได้ความหมายในตัวของมันเองเท่าไหร่นัก แต่ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือตัวบุคคล จึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ คำสุภาษิตมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆก่อนถึงจะทราบถึงความหมายและแนวสอนของคำสุภาษิตนั้นๆ เช่น ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
นอกจากนี้ยังมีคำใกล้เคียงกับคำสุภาษิตอยู่อีกคือ
สำนวน
คือคำที่พูดออกมาในลักษณะเปรียบเทียบ และจะฟังไม่เข้าในในทันทีต้องแปลความหมายก่อน เช่นเดียวกับรูปแบบที่สองของคำสุภาษิต
คำพังเพย
คือคำพูดที่ออกมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะสั่งสอนอะไร ออกแนวพูดเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นี้เป็นอย่างไรเสียมากกว่า แต่คำพังเพยส่วนใหญ่ก็มักจะแฝงคติเตือนใจที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้
คำคม
คือถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในปัจจุบันทันด่วน ส่วนมากเป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ฟังแล้วต้องยกนิ้วให้ ผู้ที่คิดคำคมต่างๆออกมามักจะเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่อง นักปราชญ์ เช่นคำคมของขงเบ้ง เป็นต้น
คำขวัญ
คือคำที่แต่งมาเพื่ออธิบายพรรณนาให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ หรือวันสำคัญต่างๆ เช่นคำขวัญกรุงเทพมหานคร หรือคำขวัญวันเด็ก เป็นต้น
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
คำสุภาษิตไทยพร้อมความหมาย
หมวด ก.
สำนวน สุภาษิตไทย
|
ความหมาย
|
กงเกวียนกำเกวียน | ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น |
กบในกะลาครอบ | มีความรู้หรือประสบการณ์น้อยมักนึกว่าตัวรู้มาก |
กรวดน้ำคว่ำขัน (คว่ำกะลา) | ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย ชาตินี้อย่าได้จอยกัน |
กระเชอก้นรั่ว | ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ |
กระดี่ได้น้ำ | ดีอกดีใจจนเกินงาม เนื้อตัวสั่น ทำแว้ดๆ |
กระต่ายขาเดียว | ยืนกรานไม่ยอมรับผิด ฉันไม่ได้ทำ ฉันเปล่านะ |
กระต่ายตื่นตูม | ตื่นตกใจง่าย ยังไม่ทันหาสาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อนแล้วโวยวาย |
กระต่ายหมายจันทร์ | ผู้ชายที่หมายปองหญิงสูงศักดิ์ ฐานะดีกว่าตัวเอง |
กระโถนท้องพระโรง | บุคคลที่ถูกใคร ๆ รุมใช้อยู่คนเดียว |
กลับเนื้อกลับตัว | เลิกทำความชั่ว แล้วมาประพฤติตัวเป็นคนดี |
กลับหน้ามือเป็นหลังมือ | เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างตรงกันข้าม |
กล้านักมักบิ่น | กล้าเกินไปมักจะเกิดอันตรายได้ |
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ | ทำงาน 2 อย่าง แบบลังเลใจ แก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีต้องเสียงานไป 1 อย่าง |
ก่อร่างสร้างตัว | ทำงานหาเงินเป็นกอบเป็นกำ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน |
กาคาบพริก | คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีแจ๋นๆ |
กำขี้ดีกว่ากำตด | ได้มาบ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย |
กำแพงมีหูประตูมีช่อง / กำแพงมีหูประตูมีตา | จะพูดอะไรต้องระวัง อาจมีคนรู้ได้ |
กิ่งทองใบหยก | ชายหนุ่ม หญิงสาวเหมาะสมกันดีที่จะแต่งงาน |
กินที่ลับไขที่แจ้ง | เอาความลับหรือเอาเรื่องที่ทำกันที่ลับมาเปิดเผยให้คนเขารู้ |
กินน้ำใต้ศอก | เมียน้อยต้องยอมรับของเหลือเดนจากเมียหลวงตกเป็นรองด้านศักดิ์ศรี |
กินน้ำพริกถ้วยเก่า | อยู่กับเมียคนเดิม |
กินน้ำไม่เผื่อแล้ง | มีเงิน มีของก็ใช้ถลุงเสียจนหมด ไม่ห่วงอนาคตข้างหน้า |
กินน้ำเห็นปลิง | ตะขิดตะขวงใจกับคนชั่วที่รู้พูดหรือคบด้วยโดยรู้ว่าเขาไม่ดี |
กินบนเรือนขี้บนหลังคา | คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความบัดซบให้ |
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน | เก็บเล็กผสมน้อย เก็บส่วนเล็กส่วนน้อยจนเป็นรูปเป็นร่างเป็นกอบเป็นกำ |
เกลือจิ้มเกลือ | แก้แค้นให้สาสมกับที่ทำไว้ ไม่ยอมเสียเปรียบกัน |
เกลือเป็นหนอน | คนภายในกลุ่มของเรา คิดทรยศไปบอกความลับฝ่ายตรงข้าม |
เกี่ยวแฝกมุงป่า | ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว |
แกว่งเท้าหาเสี้ยน | อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว |
ไก่แก่แม่ปลาช่อน | หญิงมีอายุมาก มีมารยามาก เล่ห์เหลี่ยมมาก จัดจ้าน |
ไกลปืนเที่ยง | ไม่ค่อยรู้ความเป็นไปของโลก เพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ |
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ | ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน |
หมวด ข.-จ.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
ขนมผสมน้ำยา | ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้ |
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า | บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ใจเราปรารถนา |
ขว้างงูไม่พ้นคอ | ทำอะไรก็ตาม ผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง |
ขวานฝ่าซาก | พูดจาตรง ๆ ไม่เกรงใจใครเลย |
ขายผ้าเอาหน้ารอด | ยอมเสียสละของสำคัญของตนเพื่อรักษาชื่อเสียงตนเอาไว้ |
ขิงก็รา ข่าก็แรง | ต่างคนต่างอารมณ์ร้อนพอกัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน |
ขี่ช้างจับตั๊กแตน | ลงทุนมาก แต่กลับได้ผลนิดหน่อย |
ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา | เหยียดหยามทั้งวาจา และสายตามองแบบดูถูก |
ขุดบ่อล่อปลา | ทำกลอุบายให้เขาเชื่อเพื่อหวังผลประโยชน์ |
เข็นครกขึ้นภูเขา | ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก |
เข้าด้ายเข้าเข็ม | กำลังคับขันเวลากำลังสำคัญ ถ้าพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะจะเสียการ |
เข้าตามตรอก ออกตามประตู | ทำตามขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนใหญ่หมายถึงการแต่งงาน |
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ให้รอบคอบ อย่าประมาท |
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม | ทำตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่คนในสังคมนั้นเขาทำกัน |
เขียนเสือให้วัวกลัว | หลอก ขู่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเสียขวัญหรือเกรงขาม |
คนในข้อ งอในกระดูก | กมลสันดาน เกิดมาก็ชอบคดโกง |
คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ | จะคบเพื่อนต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน |
คลื่นกระทบฝั่ง | เรื่องราวเกิดขึ้นแล้วก็เงียบหายไปในที่สุด |
คลุมถุงชน | การแต่งงานที่เจ้าบ่าวเจ้าสาว ต่างไม่ได้รักกันมาก่อน โดนผู้ใหญ่จับแต่ง |
ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด | มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ |
คอหอยกับลูกกระเดือก | เข้ากันได้ดีแยกกันไม่ออกสนิทสนมกัน |
คางคกขึ้นวอ | คนจนพอได้ดีขึ้นมา ก็ลืมตัว |
คาหนังคาเขา | จับได้ในขณะที่กำลังทำผิดหรือพร้อมกับของกลาง |
โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน | ชายแก่ชอบหญิงเอ๊าะๆ เป็นเมีย |
ฆ้องปากแตก | เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับของคนอื่นไปโพนทะนา |
ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก | จะทำการใหญ่ ไม่ควรตะหนี่ หรือเค็มนะจ๊ะ |
งมเข็มในมหาสมุทร | ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ |
เงยหน้าอ้าปาก / ลืมตาอ้าปาก | มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิม |
จับงูข้างหาง | ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย |
จับแพะชนแกะ | ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเพื่อให้เสร็จๆ ไป |
จับเสือมือเปล่า | หาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ลงทุน |
จุดไต้ตำตอ | พูดหรือทำบังเอิญไปโดนเจ้าของเรื่องโดยผู้พูดนั้นไม่รู้ตัว |
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
หมวด ช.-ด.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
ชักใบให้เรือเสีย | พูดหรือขวางให้การสนทนาออกนอกเรื่อง |
ชักแม่น้ำทั้งห้า | พูดจาหว่านล้อม ยกยอคนอื่นว่าเขาดีเลิศ เพื่อเราจะได้สมปรารถนา |
ชักหน้าไม่ถึงหลัง | มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย |
ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ | พระสงฆ์จะประพฤติตัวอย่างไรก็เรื่องของท่าน ท่านก็ได้รับผลกรรมเอง |
ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม | ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ พิจารณาให้ดี รอบคอบ เดี๋ยวจะสัมฤทธิ์ผลเอง |
ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด | ความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด |
ผัวหาบ เมียคอน | ช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวและเมีย |
ชี้นกบนปลายไม้ | หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว มันเป็นไปได้ยาก |
ชุบมือเปิบ | ฉวยเอาผลประโยชน์ของผู้อื่น โดยตัวเองไมได้ลงทุนลงแรง |
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด | ทำเป็นซื่อ ๆ |
ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ (หน้าหนาว) | ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง (Demand สูง Supply ต่ำ) |
ดีดลูกคิดรางแก้ว | คิดถึงผลได้ ผลดีอย่างเดียว |
ได้ทีขี่แพะไล่ | ไปซ้ำเติม เยาะเย้ยเมื่อคนอื่นเพลี่ยงพล้ำ |
หมวด ต.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
ตกกะไดพลอยโจน | จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง |
ตักน้ำรดหัวตอ | แนะนำเท่าไร พร่ำสอนเท่าไร ก็ไม่ได้ผล |
ตักบาตรอย่าถามพระ | จะให้อะไรแก่คนอื่น อย่าไปถามเขาว่าเอาไหม อยากได้ไหม |
ตัดหางปล่อยวัด | ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง |
ตาบอดคลำช้าง | คนที่รู้อะไรด้านเดียว แล้วเข้าใจแต่อย่างนั้น สิ่งนั้น |
ตาบอดได้แว่น | คนที่มีสิ่งที่ตัวเองใช้ประโยชน์ไม่ได้ มักใช้คู่กับ หัวล้านได้หวี |
ตาลยอดด้วน | คนที่ไม่มีหนทางทำมาหากินคนไม่มีบุตรสืบสกุล |
ตำข้าวสารกรอกหม้อ | ทำพอให้เสร็จไปแค่ครั้งหนึ่ง ๆ พอพรุ่งนี้จะเอา ค่อยทำใหม่ |
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ | เสียทรัพย์โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไร |
ติเรือทั้งโกลน | ติพล่อย ๆ ตำหนิในสิ่งที่เขายังทำไม่เสร็จ |
ตีงูให้กากิน | ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้ ตกอยู่กับผู้อื่นซะเนี่ย |
ตีงูให้หลังหัก | ทำสิ่งใดแก่ศัตรูไม่เด็ดขาดจริงจัง ย่อมได้รับผลร้ายภายหลัง |
ตีตนก่อนไข้ | กังวลทุกข์ร้อนก่อนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น |
ตีนถีบปากกัด / ปากกัดตีนถีบ | มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่ห่วงคำนึงถึงความลำบาก |
ตีปลาหน้าไซ | พูดหรือทำให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดีกลับเสีย |
ตีวัวกระทบคราด | โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ก็เลยรังควานอีกคนที่ตนเองสามารถทำได้ |
ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม | เร่งรัดเกินไปในเวลาที่ยังไม่เหมาะสม |
เตี้ยอุ้มค่อม | คนจนแต่รับเลี้ยงดูคนที่ต่ำต้อยจนเหมือนกัน |
หมวด ถ.-ป.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ | เลิกแสดงฤทธิ์เดชอำนาจอีก |
ถอยหลังเข้าคลอง | หวนกลับไปหาแบบเดิม ๆ ล้าสมัย |
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น | ดูเหมือนจะรอบคอบถี่ถ้วน แต่รอบคอบไม่จริง |
ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ | ทำการสิ่งใด ถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผล |
นกสองหัว | ทำตัวเข้ากับทั้ง 2 ฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน |
นายว่าขี้ข้าพลอย | พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามเจ้านาย |
น้ำขึ้นให้รีบตัก | มีโอกาสดีก็ควรรีบทำ |
น้ำซึมบ่อทราย | รายได้มาเรื่อย ๆ |
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง | พูดมากได้สาระน้อย |
น้ำท่วมปาก | พูดไม่ได้ เกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น |
น้ำลดตอผุด | เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฎ |
บนข้าวผี ตีข้าวพระ | ขอร้องให้เทวดาผีสางนางไม้ช่วยโดยการบน |
บอกหนังสือสังฆราช | สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว |
เบี้ยบ้ายรายทาง | เงินที่ต้องใช้จ่าย หรือเสี่ยไปเรื่อย ๆ ในขณะทำธุรกิจให้สำเร็จ |
ปลาติดร่างแห (ติดหลังแห) | คนที่พลอยรับเคราะห์กรรมกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน |
ปากปราศัย ใจเชือดคอ | พูดดีแต่ใจคิดร้าย |
ปากว่าตาขยิบ | พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน |
ปากหวานก้นเปรี้ยว | พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่จริงใจ |
ปิดทองหลังพระ | ทำดีแต่ไม่มีใครยกย่อง เพราะมองไม่เห็นคุณค่า |
ไปไหนมา สามวาสองศอก | ถามอย่างหนึ่ง ตอบไปอีกอย่างหนึ่ง |
หมวด ผ.-ย.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
ผักชีโรยหน้า | ทำความดีเพียงผิวเผิน |
ผีซ้ำด้ำพลอย | ถูกซ้ำเติม เมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย |
ผีถึงป่าช้า | ต้องยอมทำ เพราะจำใจหรือไม่มีทางเลือก |
ฝนตกไม่ทั่วฟ้า | ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน |
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม | เพียรพยายามสุดความสามารถจนสำเร็จ |
พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น | พบหญิงสาวที่ถูกใจ เมื่อแก่แล้ว |
พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ | รู้ทันกัน ไม่มีทางจะโกหก หลอกกันได้ |
พูดเป็นต่อยหอย | พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก เม้าท์เก่ง |
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง | พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า สงบสยบความเคลื่อนไหว |
มะนาวไม่มีน้ำ | พูดห้วน ๆ |
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก | พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน |
มากหมอมากความ | มากคนก็มากเรื่อง วุ่นวาย ต่างคนต่างก็ถือความคิดตัวเอง |
มือถือสาก ปากถือศีล | ชอบแสดงตัวตนว่าเป็นคนมีศีล มีธรรม แต่ทำความเลวเป็นนิจ |
มือห่าง ตีนห่าง | สุรุ่ยสุร่าย เลินเล่อ สะเพร่า ไม่ระมัดระวัง |
ไม่ดูตาม้าตาเรือ | ไม่พิจารณารอบคอบดูให้ดี |
ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน | ไม่รู้ว่าบ้านช่องอยู่ไหน เป็นลูกหลานใคร ไม่รู้จักพื้นเพ |
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ | ด่วนตัดสินใจทำอะไรเลยไป ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร |
ไม้ใกล้ฝั่ง | แก่มาก อายุขัยใกล้ตาย |
ไม่หลักปักไม้เลน | โลเล ไม่แน่นอน |
ยกตนข่มท่าน | พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า |
ยกภูเขาออกจากอก | โล่งอก หมดวิตกกังวล |
ยื่นแก้วให้วานร | เอาของมีค่าให้คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น |
หมวด ร.-ส.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ | รักจะคบกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่สั้น ๆ ให้คิดอาฆาต |
รีดเลือดกับปู | บังคับเอากับผู้ยากจนที่ไม่มีจะให้ |
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก | ดีแต่พูด เม้าท์ แต่ทำจริง ๆ ทำไม่ได้ |
ลางเนื้อชอบลางยา | ของบางสิ่งอาจถูก เข้ากันได้ดี เหมาะกับคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับอีกคน |
ลูกขุนพลอยพยัก | พวกประจบสอพลอ ผู้ที่คอยว่าตามผู้ใหญ่ เจ้านาย |
ลูกผีลูกคน | จะเอาแน่นอนไม่ได้ มักใช้ในกรณีสำคัญๆ |
ลูบหน้าปะจมูก | จะทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะเกรงจะไปกระทบพวกพ้องตัวเอง |
เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ | อาการหลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ |
เลือดข้นกว่าน้ำ | ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น |
วัวใครเข้าคอกคนนั้น | กรรมที่ใครสร้างไว้ ย่อส่งผลให้แก่ผู้นั้น |
ว่ายน้ำหาจระเข้ | เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตราย |
ศรศิลป์ไม่กินกัน | ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน |
สร้างวิมานในอากาศ | คิดคาดหวัง จะมีจะเป็นอะไรอย่างเลิศลอย |
สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ | ความสุขที่เกิดจาการทำดี ทำชั่ว อยู่ที่ใจทั้งนั้น |
สองฝักสองฝ่าย | ทำตัวเข้ากับ 2 ฝ่ายที่ไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน |
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ | สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือถนัดอยู่แล้ว |
สาวไส้ให้กากิน | เอาความลับของตน หรือพวกตนไปเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตน |
สิ้นไร้ไม้ตอก | ยากไร้ ขัดสนถึงที่สุด ไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว |
สิบเบี้ยใกล้มือ | ของหรือประโยชน์ที่ควรได้ก็เอาไว้ก่อน |
สุกเอาเผากิน | ทำลวก ๆ ทำพอเสร็จไปครั้ง ๆ หนึ่ง |
เส้นผมบังภูเขา | เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่ |
สอนจระเข้ว่ายน้ำ
หมวด ห.-อ.
สำนวน สุภาษิตไทย | ความหมาย |
หงิมๆ หยิบชิ้นปลามัน | บุคลิกลักษณะเรียบร้อย แต่ความจริงฉลาด เลือกเอาดี ๆ ไปได้ |
หญ้าปากคอก | สะดวก ง่าย ไม่มีอะไรยุ่งยาก |
หนังหน้าไฟ | ผู้ที่คอยรับหน้า รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น |
หน้าเนื้อใจเสือ | หน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจโหดเหี้ยม |
หนามยอกเอาหนามบ่ง | ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทำนองเดียวกัน |
หน้าสิ่วหน้าขวาน | อยู่ในระยะอันตราย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ |
หมาในรางหญ้า | คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้ |
หมาสองราง | คนที่ทำตัวเข้าทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน |
หยิกเล็บเจ็บเนื้อ | เมื่อทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิด ก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้ทำหรือพวกพ้อง |
หอกข้างแคร่ | คนใกล้ชิดที่จะคอยทำร้ายเมื่อใดก็ได้ |
หักด้ามพร้าด้วยเข่า | หักโหมเอาด้วยกำลัง ใช้อำนาจบังคับเขา |
หัวแก้วหัวแหวน | เป็นที่รักใคร่เอ็นดูมาก |
หัวมังกุ ท้ายมังกร | ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน |
หัวหลักหัวตอ | บุคคลที่น้อยใจ เพราะคนอื่นมองข้ามความสำคัญ ไม่ยอมมาปรึกษา |
เหยียบเรือสองแคม | ทำทีเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่าย |
หูผีจมูกมด | ไหวตัวทันเหตุการณ์ตลอด |
หาเหาใส่หัว | รนหาเรื่องเดือดร้อน รำคาญใส่ตน |
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน | แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า |
เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง | เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนที่มีน้อยไปให้ผู้ที่มีมากกว่า |
เอามือซุกหีบ | หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่ |
เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง | คัดค้านผู้มีอำนาจ ฐานะสูงกว่า หรือผู้ใหญ่กว่า มักจะล้มเหลว |
เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ | แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น