พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์
ส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง
การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ศิษย์ ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า
ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
1.สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2.สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมาไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจโดยไม่ต้องกลัวว่า “ผิดครู”
3.เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
4.ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5.เกิดความสบายใจ หากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไปก็เป็นการขอขมาครู
ตำนานการไหว้ครู
มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่าเวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู ตามแบบโบราณนิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ เช่น เดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 และเดือนยี่ แต่มีข้อยกเว้นเดือนเดียวคือ เดือน 9 อนุโลมให้จัดพิธีได้ เพราะถือว่าเดือน 9 เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา ในบางครั้งตามคติโบราณยังต้องระบุจันทรคติเพิ่มขึ้นด้วย โดยพิจารณาอีกว่าตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด จะนิยมวันพฤหัสบดีข้างขึ้น เพราะข้างขึ้นถือว่าเป็นวันฟู เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
1.เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2.เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฏศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3.เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4.เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคล ทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
5.เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ขั้นตอนการไหว้ครู
1.จัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาดบริเวณที่จัดให้เรียบร้อย
2.เชิญหัวโขนหรือศีรษะครู ทั้งที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ฤาษี และคนธรรพมาประดิษฐาน เพื่อเป็นประธานตั้งไว้บนโต๊ะที่เตรียมพร้อมแล้ว
3.พิธีสวดมนต์ไหว้พระ จำนวน 9 รูป
4.จัดเครื่องกระยาบวช เครื่องสังเวย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังเวยจะจัดออกเป็น 3 ชุด คือ
- ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระครูฤาษี พระประคนธรรพ เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระพิราพ ซึ่งเป็นเทพอสูร เป็นอาหารดิบ
5.เชิญประธานจัดงานมาจุดธูปเทียนบูชาครู ครูผู้ประกอบพิธีแต่งชุดขาว อ่านโองการเชิญครูต่างๆ มาร่วมพิธี
6.ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงตามที่ครูผู้ประกอบพิธีจะเรียกเพลง
7.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวถวายเพื่อเซ่นสังเวยต่างๆ ที่ได้จัดมา เสร็จแล้วกล่าวลาเครื่องเซ่นสังเวย
8.ผู้มาร่วมงานรำถวายเพื่อบูชาครู ซึ่งนิยมรำเพลงช้า – เพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงบางเพลง เช่น ตระนิมิตร ตระบองกัน คุกพาทย์ เป็นต้น
9.ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศรีษะครูมาครอบให้ 3 ศรีษะ คือ
- ศรีษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป
- ศรีษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน
- ศรีษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร
10.ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู 24 บาท ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว และในวงการนาฏศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฏศิลป์โดยสมบูรณ์
11.ลูกศิษย์ที่จะจบออกจากสถาบันเป็นปีสุดท้าย จะเข้ารับมอบ โดยครูผู้ประกอบพิธีจะส่งศรพระขันธ์ให้กับศิษย์ผู้นั้นรับไว้ เปรียบเสมือนการขออนุญาตเพื่อไปสอนศิษย์ต่อไป
12.ครูผู้ประกอบพิธีจะเจิมหน้าผาก ประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้ของที่ระลึก และกล่าวอวยพรให้กับศิษย์ทุกคนที่เข้าพิธีไหว้ครู
13.ศิษย์ทุกคนจะรำส่งครู ซึ่งนิยมรำโปรยข้าวตอกดอกไม้เนื้อความเป็นสิริมงคลต่อไป
กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู
การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวก พราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤกษ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่นๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี
ส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง
การไหว้ครู คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์และครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ศิษย์ ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะมานะอดทน เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า
ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
1.สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2.สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมาไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจโดยไม่ต้องกลัวว่า “ผิดครู”
3.เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
4.ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5.เกิดความสบายใจ หากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไปก็เป็นการขอขมาครู
ตำนานการไหว้ครู
มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่าเวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู ตามแบบโบราณนิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ เช่น เดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 และเดือนยี่ แต่มีข้อยกเว้นเดือนเดียวคือ เดือน 9 อนุโลมให้จัดพิธีได้ เพราะถือว่าเดือน 9 เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา ในบางครั้งตามคติโบราณยังต้องระบุจันทรคติเพิ่มขึ้นด้วย โดยพิจารณาอีกว่าตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด จะนิยมวันพฤหัสบดีข้างขึ้น เพราะข้างขึ้นถือว่าเป็นวันฟู เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
1.เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2.เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฏศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3.เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4.เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคล ทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
5.เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ขั้นตอนการไหว้ครู
1.จัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาดบริเวณที่จัดให้เรียบร้อย
2.เชิญหัวโขนหรือศีรษะครู ทั้งที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ฤาษี และคนธรรพมาประดิษฐาน เพื่อเป็นประธานตั้งไว้บนโต๊ะที่เตรียมพร้อมแล้ว
3.พิธีสวดมนต์ไหว้พระ จำนวน 9 รูป
4.จัดเครื่องกระยาบวช เครื่องสังเวย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังเวยจะจัดออกเป็น 3 ชุด คือ
- ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระครูฤาษี พระประคนธรรพ เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระพิราพ ซึ่งเป็นเทพอสูร เป็นอาหารดิบ
5.เชิญประธานจัดงานมาจุดธูปเทียนบูชาครู ครูผู้ประกอบพิธีแต่งชุดขาว อ่านโองการเชิญครูต่างๆ มาร่วมพิธี
6.ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงตามที่ครูผู้ประกอบพิธีจะเรียกเพลง
7.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวถวายเพื่อเซ่นสังเวยต่างๆ ที่ได้จัดมา เสร็จแล้วกล่าวลาเครื่องเซ่นสังเวย
8.ผู้มาร่วมงานรำถวายเพื่อบูชาครู ซึ่งนิยมรำเพลงช้า – เพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงบางเพลง เช่น ตระนิมิตร ตระบองกัน คุกพาทย์ เป็นต้น
9.ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศรีษะครูมาครอบให้ 3 ศรีษะ คือ
- ศรีษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป
- ศรีษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน
- ศรีษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร
10.ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู 24 บาท ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว และในวงการนาฏศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฏศิลป์โดยสมบูรณ์
11.ลูกศิษย์ที่จะจบออกจากสถาบันเป็นปีสุดท้าย จะเข้ารับมอบ โดยครูผู้ประกอบพิธีจะส่งศรพระขันธ์ให้กับศิษย์ผู้นั้นรับไว้ เปรียบเสมือนการขออนุญาตเพื่อไปสอนศิษย์ต่อไป
12.ครูผู้ประกอบพิธีจะเจิมหน้าผาก ประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้ของที่ระลึก และกล่าวอวยพรให้กับศิษย์ทุกคนที่เข้าพิธีไหว้ครู
13.ศิษย์ทุกคนจะรำส่งครู ซึ่งนิยมรำโปรยข้าวตอกดอกไม้เนื้อความเป็นสิริมงคลต่อไป
กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู
การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวก พราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤกษ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่นๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น