เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกครั้งใหญ่ เมื่อเข้าสู่ยุคของสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการงานประจำวันให้ทำได้สำเร็จเร็วขึ้น การผลิดทำได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชีและโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น
อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการพัฒนาให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพื่อความสะดวกในการทำงาน เช่น ความเร็วของคอมพิวเตอร์โดยรวมจะเพิ่มขึ้น แสดงพัฒนาการของจำนวนทรานซิสเตอร์ในซีพียูรองรับงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในอดีตเรามีการสื่อสารโดยส่งข้อความผ่านการส่งจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ปัจจุบันมีการส่งข้อความ วีดิทัศน์ เสียง ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็นในการดำเนินงานทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ธุรกิจ หรือบันเทิง ทุกหน่วยงานมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ เช่น การเก็บข้อมูลบุคคล ระบบภาษี ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบจองตั๋วภาพยนตร์ ระบบชมรายการโทรทัศน์และฟังเพลงออนไลน์ ดังรูป
เมื่อมีการพัฒนาระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทำให้การบริการต่างๆ มีหลากหลาย และสะดวกขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อสินค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลต่างๆ ทางโทรศัพท์ นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ดูคะแนนสอบจากที่บ้าน สามารถถอนเงินได้จากทั้งธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม จองตั๋วชมภาพยนตร์จากพนักงานตู้บริการจองตั๋ว หรืออินเทอร์เน็ต
ในระบบที่ต้องการนำข้อมูลมาประมวลผล และดำเนินการตัดสินใจ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาใช้จะทำให้การดำเนินการต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น เช่น โรงงานผลิดรถยนต์สามารถผลิตรถยนต์ออกมาเหมือนกันทุกคัน ถ้าใช้คนทำอาจมีความเหนื่อยล้าและอาจมีความผิดพลาดได้ง่าย สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก การนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลสามารถทำได้ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลข้อมูลที่ต้องการมีทำงานซ้ำๆได้อย่างถูกต้องและแม่นยำอีกด้วย
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายลดลง เช่น การเรียนสามารถเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียน การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าฟิล์ม ซึ่งถ้าต้องการพิมพ์รูป สามารถเลือกพิมพ์รูปที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้าจ่ายในการล้าง และอัดรูปทั้งหมดออกมาดู การส่งอีเมล์เป็นการติดต่อสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด เป็นต้น
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยให้การทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น แต่พัฒนาการดังกล่าวย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังต่อไปนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วสามารถติดต่อสื่อสารได้โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะเดินทาง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกแห่ง แม้แต่ในถิ่นทุรกันดาร มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลทำให้เป็นการกระจายโอกาสการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสารทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน
ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนการสอน เช่น วีดิทัศน์ อีเลิร์นนิ่ง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา เช่น จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน
ในอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลให้เข้าถึงได้อย่างเสรี เช่น เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org , http://www.vcharkarn.com และ http://www.gotoknow.org
ในด้านการค้นคว้าวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ใช้ค้นหารายงานการวิจัยที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ใช้ในการจำลองโครงสร้างอะตอม
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การอนุรักษ์ป่าไม้ มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร (telemeter) ดัวอย่างระบบโทรมาตรจากศูนย์สารสนเทศ กรมชลประทาน
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การตรวจสอบสัมภาระในการเดินทาง การตรวจสอบอาวุธและวัตถุระเบิด
การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำ และยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าและใช้บริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเราสามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อสินค้าการทำธูรกรรมทางการเงิน การดูข้อมูลที่มีผลกับธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นต่อชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ในการนี้มีหลายสถาบัน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้มีการจัดแข่งขันการพัฒนาโครงงานหรือซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น
ในการเลือกตั้งระดับต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกระจายข่าวสาร และให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ตรายงานผลการนับคะแนน ที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว ตัอย่างเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ อาชญากรรมอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าแก้ไขข้อมูล เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา แก้ไขจำนวนเงินในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตรกรรม ดังที่เห็นในภาพยนตร์ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงผู้อื่นไปในทางที่ไม่ดี
การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพบหน้ากัน การใช้คอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกม มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคละน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันและกันมาก อย่างไรก็ตามได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคล บางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนัันมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
การดำเนินงานในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือถูกทำลายจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนำข้อมูลนั้นมาใช้ได้ นอกจากนี้อาจมีผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปขโมยข้อมูลมาใช้ในทางที่ไม่ดีได้ง่ายขึ้น
ประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาช่วยในการพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญดังเช่น ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอาจมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาหรือภาพไม่เหมาะสม เช่น ภาพลามกอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีรับแจ้งเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมผ่านเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงอีเมล์เพื่อส่งอีเมล์ถึงผู้อื่น โดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจและคำนึงถึงการใช้งานที่มีผลกระทบถึงผู้อื่น
การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ เช่น การเพ่งที่จอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้ปวดตา การนั่งในท่าเดิมนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ การเกร็งข้อมือขณะพิมพ์งานหรือใช้เมาส์จะทำให้เกิดการปวดข้อมือและนิ้วได้
การติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีหลายลักษณะ เช่น ติดการเล่นเกมส์ ติดการค้นหาเว็บ ติดการแชท และติดการพนันหรือประมูลสินค้า ผู้ที่มีอาการติดสิ่งเหล่านี้ จะต้องการเวลาในการทำกิจกรรมนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเลิกได้ ซึ่งทำให้มีปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น ซึมเศร้า ไม่อยากนอน เชื่องช้า ก้าวร้าว ขาดวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ ควรฝึกให้บุตรหลานตระหนักถึงสิ่งที่ให้ประโยชน์หรือโทษ และควรปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัวและสังคม
2.3 ระดับของสารสนเทศ
สารสนเทศรอบตัวเราที่มีอยู่มากมาย อาจไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้กับทุกคนในทุกสถานการณ์ ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งระดับของสารสนเทศตามลักษณะของ การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร
1. สารสนเทศระดับบุคคล
สารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตจากการปฏิบัติงานให้กับแต่ละบุคคลในองค์กร มีการประยุกต์ที่ช่วยทำให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบ ส่วนตัวของบุคคลนั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจัดเป็นอุปกรณ์สำนักงานอย่างหนึ่งสำหรับบุคคลในองค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศอันเนื่องมาจากขนาดที่กะทัดรัด ราคาที่ถูกลง และที่ได้รับการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของซอฟต์แวร์ มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการปฏิบัติงานในระดับบุคคล สามารถช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เช่น ชุดโปรแกรมสำนักงานซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการจัดเตรียมเอกสาร รายงาน
โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) ที่ช่วยในการสร้างตาราคำนวณ โปรแกรมนำเสนอ (presentation) ที่ใช้ในการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการนำเสนองาน ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management) ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโปรแกรมจัดการตารางการบริหารโครงการ (project management) เพื่อให้สามารถกำหนดรายการงานที่ต้องปฏิบัติ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติของแต่ละงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ ตัวอย่างการใช้สารสนเทศระดับบุคคล เช่น การทำข้อมูลตารางนัดหมายส่วนตัว การพิมพ์รายงานสรุปการประชุม
การใช้สารสนเทศระดับบุคคล
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม
ในการทำงานที่ต้องมีการทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ต้องการ เป็นจุดกำเนิดของสารสนเทศระดับกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่จะเอื้อประโยชน์ร่วมกันสามารถให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการทำงานของกลุ่มบุคคล เช่น การใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเฉพาะข้อมูล สารสนเทศ และอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานต่างๆ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกลุ่มบุคคลทำให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ รวมถึงโปรแกรม ข้อมูล หรือฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในกลุ่มงาน ซึ่งสามารถจัดเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแฟ้มหรือฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงร่วมกันได้
ระบบสารสนเทศในลักษระของการทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ระบบซื้อขายสิ้นค้าที่มีพนักงานขายหลายคน พนักงานทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลของลูกค้าและสินค้า กล่าวคือ มีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมข้อมูลลูกค้า หรือมีการเพิ่มหรือลดจำนวนของสินค้า พนักงานในกลุ่มทำงานจะสามารถเห็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงาน และส่งผลต่อการเพิ่มคุณภาพในการให้บริการได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกลุ่มบุคคลยังทำให้เกิดการเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กรรูปแบบต่างๆ เช่น การติดต่อผ่านอีเมล์เพื่อส่งข้อมูลระหว่างกัน การจัดประชุมทางไกล (video conference) เพื่อปรึกษาหารือกันได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่สถานที่เดียวกัน การจัดทำระบบกระดานข่าว (Bulletin Board System: BBS) ของกลุ่มงาน เพื่อใช้ประกาศข่าวสารต่างๆ ให้รับรู้ร่วมกัน การร่วมกันเขียนเอกสารหรือรายงานที่มีการปรับปรุงรุ่นของเอกสารที่เห็นตรงกัน การจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบการจัดการตารางบริหารโครงการของกลุ่ม
การใช้สารสนเทศระดับกลุ่ม
3. สารสนเทศระดับองค์กร
สารสนเทศระดับองค์กร คือ สารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายกลุ่มงาน มีการส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างกลุ่มงาน สารสนเทศระดับองค์กรใช้สำหรับสนับสนุนการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นกว่ากลุ่มงาน เนื่องจากสามารถนำข้อมูลจากกลุ่มงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มงานมาแสดงในรูปแบบสรุป
ระบบการทำงานที่มีการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรได้ เช่น กลุ่มงานที่ดูแลข้อมูลลูกค้าสามารถประมวลผลข้อมูลความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปให้กับกลุ่มงานผลิตสินค้า เพื่อใช้ปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้า นำไปให้กับกลุ่มงานคลังสินค้า เพื่อสามารถสำรองสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้บริหารยังสามารถนำข้อมูลจากกลุ่มงานต่างๆมาใช้กำหนดนโยบายในการบริหารงานขององค์กรในทิศทางที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร
หัวใจสำคัญในสารสนเทศระดับองค์กร คือ จะต้องมีการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์จากกลุ่มงานต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เช่นเดียวกับระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม เป็นการขยายขอบเขตความสามารถในการปฏิบัติทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงาน จนถึงในระดับผู้บริหาร เกิดเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร ในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้ในองค์กรมาก เครื่องมือพื้นฐานอีกประการหนึ่งของระบบข้อมูลก็คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูลซึ่งมีความสำคัญในการช่วยดูแลระบบฐานข้อมูล และสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อทำงานกับฐานข้อมูลได้อย่างกว้างขวางขึ้น
การใช้สารสนเทศระดับองค์กร
|
3.1 คอมพิวเตอร์
3.1.1 คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่ง (program) ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory) สามารถรับข้อมูลเข้า (input)จากภายนอก นำมาประมวลผล (process)ตามลำดับขั้นตอนที่ได้เตรียมไว้แล้ว และส่งผลลัพธ์(output)ออกไปให้กับผู้ใช้ หรือสามารถเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ต่อไปได้
ส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
3.1.2 ประโยชน์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์
1) ทำงานได้รวดเร็ว
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าจึงสามารถทำงานได้หลายล้านคำสั่งต่อวินาที ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว
2) มีความน่าเชื่อถือ
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง การทำงานจะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิมทุกครั้ง เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลเข้าชุดเดียวกัน ย่อมจะได้ผลลัพธ์เช่นเดิมทุกครั้ง
3) เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก
คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลอยู่ภายในได้เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของหน่วยความจำ เพื่อให้ทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ และทั้งในส่วนของอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำแบบแฟลชและแผ่นซีดี เพื่อให้สามารถเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ใช้งานต่อไป
4) สื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในปัจจุบันมีความสามารถในการส่งถ่ายข้อมูลกับเครื่องอื่นได้ ซึ่งอาจกระทำโดยผ่านสายสัญญาณหรือแบบไร้สายก็ได้ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆมีประโยชน์กับผู้ใช้ และสามารถทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
3.1.3 องค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี(personal computer:pc) ประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ เช่น จอภาพ ตัวเครื่อง คีย์บอร์ด เมาส์ ลำโพง และไมโครโฟน สำหรับตัวเครื่องนั้นภายในจะประกอบไปด้วย แผงวงจรหลักและอุปกรณ์อื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งถ้าเราจัดอุปกรณ์พื้นฐานทั้งหมดตามหน้าที่การทำงานจะได้ 5 หน่วย คือ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยส่งออก และหน่วยเก็บข้อมูล โดยที่แต่ละหน่วยมีหน้าที่หลักดังนี้
1. หน่วยรับเข้า (input unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้ามายังหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางต่อไป อุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และไมโครโฟน
หน่วยรับเข้า (input unit)
2. หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (central processing unit) หน่วยประมวลผลกลางซึ่งติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลักที่ยึดติดอยู่ภายในตัวเครื่อง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน เปรียบเทียบ คิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
ซีพียู (CPU)
3. หน่วยความจำหลัก (main memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผลแบ่งได้เป็นสองชนิดคือ หน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ (non-volatile memory)ซึ่งหน่วยความจำนี้จะสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง และอีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้(volatile memory) เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไป
หน่วยความจำหลัก (main memory)
4. หน่วยส่งออก (output unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลออกมาแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง
หน่วยส่งออก (output unit)
5. หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์นำข้อมูลและโปรแกรมเหล่านี้กลับมาใช้งานได้อีกหลักจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และหน่วยความจำแบบแฟลช
หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit)
|
3.2 การแทนข้อมูล
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องพบเจอกับจำนวนและการคำนวณอยู่ทุกวันซึ่งตัวเลขที่ใช้แทนการนับ ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ เลข 0-9 ซึ่งเรียกว่าระบบเลขฐานสิบ (decimal number system) สำหรับคอมพิวเตอร์นั้นส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัล การเก็บข้อมูลจะแทนด้วยสัญญาณไฟฟ้า ที่มีแรงดัน 2 สถานะ คือ ต่ำ (low) สูง (hight)เท่านั้น ซึ่งเราสามารถใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อทำให้อธิบายได้ง่ายขึ้น โดยตัวเลข 0 จะแทนแรงดันไฟฟ้าต่ำ และตัวเลข 1 จะแทนแรงดันไฟฟ้าสูง ระบบตัวเลขที่มีเพียงแค่สองค่าในหนึ่งหลักนี้ เรียกว่าระบบเลขฐานสอง (binary number system) ตัวอย่าง เลขฐานสองเช่น 1102 ,101102
ระบบเลขฐานสอง
ระบบเลขฐานสองประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ 0 และ 1 แต่ละหลักของเลขฐานสองจะเรียกว่าบิต (bit หรือ binary bit) ซึ่งบิตเป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเก็บและประมวลผลได้
เราได้ทราบมาแล้วว่าเลขฐานสองเพียงบิตเดียวหรือสองบิต จะไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากนัก เราต้องนำเลขฐานสองหลายๆบิตมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่มเพื่อให้ใช้แทนข้อมูลได้มากขึ้น
หากใช้ข้อมูลขนาด 4 บิต หรือตัวเลขฐานสองจำนวน 4 หลักก็จะสามารถแทนข้อมูลได้ทั้งหมด 24 หรือ 16 แบบ สำหรับกลุ่มของเลขฐานสองจำนวน 8 บิต เรียกว่าไบต์(byte) ซึ่งสามารถใช้แทนค่าที่แตกต่างกันได้ถึง 28 หรือ 256 แบบ
| |
0 | 0 |
1 | 1 |
2 | 10 |
3 | 11 |
4 | 100 |
5 | 101 |
6 | 110 |
7 | 111 |
8 | 1000 |
9 | 1001 |
... | ... |
15 | 1111 |
16 | 1 0000 |
... | ... |
254 | 1111 1110 |
255 | 1111 1111 |
ตัวอย่างการแทนค่าเลขฐานสอง
3.2.1 การแปลงค่าตัวเลขระหว่างเลขฐานสองและเลขฐานสิบ
การศึกษาเกี่ยวกับการแปลงค่าเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบและการแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองจะช่วยให้เข้าใจวิธีการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์เก็บค่าจำนวนเต็มบวกในลักษณะของการแปลงค่าตัวเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองโดยตรง ซึ่งเราอาจทำการแปลงได้โดยให้ตัวเลขฐานสิบเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยฐานสองไปเรื่อยๆ จนกระทั้งผลลัพธ์เป็นศูนย์ และในการหารแต่และครั้งต้องเขียนเศษที่ได้จากการหารไว้ หลักจากที่หารจนผลหารเป็นศูนย์ เราจะนำเศษที่ได้ทั้งหมดมาเรียงต่อกันโดยให้เศษที่ออกมาก่อนอยู่ทางขวามือจะได้เลขฐานสองที่มีค่าจำนวนเต็มเท่ากับเลขฐานสิบที่เป็นตัวตั้ง
ตัวอย่างแสดงการแปลง 29 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง
ตัวอย่างแสดงการแปลง 34 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง
สำหรับการแปลงค่าจำนวนเต็มฐานสองให้เป็นฐานสิบนั้น ต้องอาศัยค่าประจำหลักในเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าประจำหลักอยู่ซึ่งหาได้จากสิบยกกำลังเลขหลัก โดยเลขหลักที่นับจากหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยและหลักพัน จะมีค่าเป็น 0,1,2และ3ตามลำดับ
| หลักพัน | หลักร้อย | หลักสิบ | หลักหน่วย |
เลขประจำหลัก | 3 | 2 | 1 | 0 |
การหาค่าประจำหลัก | 103 | 102 | 101 | 100 |
ค่าประจำหลัก | 1000 | 100 | 10 | 1 |
ค่าประจำหลักในเลขฐานสิบ
จากหลักการดังกล่าวนี้ เราสามารถหาค่าของเลขจำนวนใดๆ ได้จากค่าประจำหลักคูณกับตัวเลขในหลักนั้นๆ ดังตัวอย่างการหาค่าของ 243 ดังนี้
การหาค่าของ 243
เมื่อทราบหลักการหาค่าเลขจำนวนเต็มฐานสิบแล้ว การหาค่าเลขจำนวนเต็มฐานสองก็ใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนการหาค่าประจำหลักการใช้ของสิบยกกำลังเลขประจำหลัก ไปใช้ค่าของสองยกกำลังเลขประจำหลักแทน นั่นคือค่าประจำหลักจากหลักทางขวาสุดมาทางซ้าย ดังตัวอย่าง
เลขประจำหลัก | 7 | 6 | 5 | 4 | 3 | 2 | 1 | 0 |
การหาค่าประจำหลัก | 27 | 106 | 105 | 104 | 103 | 102 | 101 | 100 |
ค่าประจำหลัก | 128 | 64 | 32 | 16 | 8 | 4 | 2 | 1 |
ค่าประจำหลักในเลขฐานสอง
แสดงการแปลงเลข 10001
2 ให้อยู่ในรูปฐานสิบ
แสดงการแปลงเลข 1111 0011
2 ให้อยู่ในรูปฐานสิบ
3.2.2 รหัสแทนข้อมูล
ข้อมูลชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอักขระ เสียง รูปภาพ ก็ล้วนต้องถูกแปลงให้อยู่ในกลุ่มของเลขฐานสองก่อนที่จะถูกจัดเก็บและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกระบบสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานการแปลงข้อมูลตัวอักขระเป็นรหัสเลขฐานสอง หรือที่เรียกกันว่า รูปแบบการเข้ารหัส(coding scheme) สำหรับมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายมาตรฐานด้วยกัน เช่น บีซีดี แอสกี และยูนิโค้ด
1. รหัสบีซีดี
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นิยมใช้การเข้ารหัสแบบบีซีดี(Binary Coded decimal:BCD) ซึ่งเป็นการแทนตัวเลขแต่ละตัวด้วยรหัสเลขขนาด 4 บิต ที่มีค่าตรงกับตัวเลขนั้นๆ
ดังตัวอย่าง
เลข | 0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
รหัสบีซีดี | 0000 | 0001 | 0010 | 0011 | 0100 | 0101 | 0110 | 0111 | 1000 | 1001 |
ถ้าเป็นเลขฐานสิบมากกว่าหนึ่งหลัก จะแทนแต่ละหลักด้วยรหัสเลขฐานสองที่มีค่าตรงกับตัวเลขในหลักนั้นๆ เช่น 243 เข้ารหัสแบบบีซีดีได้เป็น 0010 0100 0011 ข้อดีของรหัสบีซีดี คือ การแปลงระหว่างฐานสิบและฐานสองทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือความยุ่งยากในการคำนวณทางคณิตศาสตร์และสิ้นเปลืองจำนวนบิตในการจัดเก็บข้อมูลมากกว่าการแทนค่าฐานสิบทั้งจำนวนด้วยเลขฐานสอง
2. รหัสแอสกี(American Standard Code for Information Interchange:ASCII)
การเข้ารหัสแบบแอสกี เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันทั้งสำหรับพีซีและเครื่องให้บริการ (server) ทั่วไป ซึ่งใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต เข้ารหัสเพื่อแทนอักขระได้ทั้งหมด 256 ตัว โดยที่รหัสทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองชุด ชุดละ 128 ตัว ชุดแรกเป็นรหัสที่ใช้แทนรหัสควบคุม ตัวเลขและอักขระภาษาอังกฤษซึ่งเป็นส่วนที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับชุดหลังจำนวน 128 ตัว ถูกนำไปใช้แทนอักขระที่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ เช่น เส้นตาราง เป็นต้น และยังถูกนำไปใช้แทนอักขระในภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยด้วย ข้อจำกัดของการเข้ารหัสแอสกี คือ ชุดอักขระของภาษาต่างๆไม่สามารถใช้งานพร้อมกันได้ ต้องเลือกใช้งานทีละภาษา และยังไม่รองรับการใช้งานในภาษาที่มีตัวอักขระเป็นจำนวนมาก เช่น ภาษาจีน เนื่องจากการเข้ารหัสด้วยตัวเลขฐานสองจำนวน 8 บิต ไม่สามารถรองรับอักขระได้มากกว่า 256 ตัว
3.2 การแทนข้อมูล
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องพบเจอกับจำนวนและการคำนวณอยู่ทุกวันซึ่งตัวเลขที่ใช้แทนการนับ ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ เลข 0-9 ซึ่งเรียกว่าระบบเลขฐานสิบ (decimal number system) สำหรับคอมพิวเตอร์นั้นส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัล การเก็บข้อมูลจะแทนด้วยสัญญาณไฟฟ้า ที่มีแรงดัน 2 สถานะ คือ ต่ำ (low) สูง (hight)เท่านั้น ซึ่งเราสามารถใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อทำให้อธิบายได้ง่ายขึ้น โดยตัวเลข 0 จะแทนแรงดันไฟฟ้าต่ำ และตัวเลข 1 จะแทนแรงดันไฟฟ้าสูง ระบบตัวเลขที่มีเพียงแค่สองค่าในหนึ่งหลักนี้ เรียกว่าระบบเลขฐานสอง (binary number system) ตัวอย่าง เลขฐานสองเช่น 1102 ,101102
ระบบเลขฐานสอง
ระบบเลขฐานสองประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ 0 และ 1 แต่ละหลักของเลขฐานสองจะเรียกว่าบิต (bit หรือ binary bit) ซึ่งบิตเป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเก็บและประมวลผลได้
เราได้ทราบมาแล้วว่าเลขฐานสองเพียงบิตเดียวหรือสองบิต จะไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากนัก เราต้องนำเลขฐานสองหลายๆบิตมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่มเพื่อให้ใช้แทนข้อมูลได้มากขึ้น
หากใช้ข้อมูลขนาด 4 บิต หรือตัวเลขฐานสองจำนวน 4 หลักก็จะสามารถแทนข้อมูลได้ทั้งหมด 24 หรือ 16 แบบ สำหรับกลุ่มของเลขฐานสองจำนวน 8 บิต เรียกว่าไบต์(byte) ซึ่งสามารถใช้แทนค่าที่แตกต่างกันได้ถึง 28 หรือ 256 แบบ
| |
0 | 0 |
1 | 1 |
2 | 10 |
3 | 11 |
4 | 100 |
5 | 101 |
6 | 110 |
7 | 111 |
8 | 1000 |
9 | 1001 |
... | ... |
15 | 1111 |
16 | 1 0000 |
... | ... |
254 | 1111 1110 |
255 | 1111 1111 |
ตัวอย่างการแทนค่าเลขฐานสอง
3.2.1 การแปลงค่าตัวเลขระหว่างเลขฐานสองและเลขฐานสิบ
การศึกษาเกี่ยวกับการแปลงค่าเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบและการแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองจะช่วยให้เข้าใจวิธีการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์เก็บค่าจำนวนเต็มบวกในลักษณะของการแปลงค่าตัวเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองโดยตรง ซึ่งเราอาจทำการแปลงได้โดยให้ตัวเลขฐานสิบเป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยฐานสองไปเรื่อยๆ จนกระทั้งผลลัพธ์เป็นศูนย์ และในการหารแต่และครั้งต้องเขียนเศษที่ได้จากการหารไว้ หลักจากที่หารจนผลหารเป็นศูนย์ เราจะนำเศษที่ได้ทั้งหมดมาเรียงต่อกันโดยให้เศษที่ออกมาก่อนอยู่ทางขวามือจะได้เลขฐานสองที่มีค่าจำนวนเต็มเท่ากับเลขฐานสิบที่เป็นตัวตั้ง
ตัวอย่างแสดงการแปลง 29 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง
ตัวอย่างแสดงการแปลง 34 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง
สำหรับการแปลงค่าจำนวนเต็มฐานสองให้เป็นฐานสิบนั้น ต้องอาศัยค่าประจำหลักในเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าประจำหลักอยู่ซึ่งหาได้จากสิบยกกำลังเลขหลัก โดยเลขหลักที่นับจากหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยและหลักพัน จะมีค่าเป็น 0,1,2และ3ตามลำดับ
| หลักพัน | หลักร้อย | หลักสิบ | หลักหน่วย |
เลขประจำหลัก | 3 | 2 | 1 | 0 |
การหาค่าประจำหลัก | 103 | 102 | 101 | 100 |
ค่าประจำหลัก | 1000 | 100 | 10 | 1 |
ค่าประจำหลักในเลขฐานสิบ
จากหลักการดังกล่าวนี้ เราสามารถหาค่าของเลขจำนวนใดๆ ได้จากค่าประจำหลักคูณกับตัวเลขในหลักนั้นๆ ดังตัวอย่างการหาค่าของ 243 ดังนี้
การหาค่าของ 243
เมื่อทราบหลักการหาค่าเลขจำนวนเต็มฐานสิบแล้ว การหาค่าเลขจำนวนเต็มฐานสองก็ใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนการหาค่าประจำหลักการใช้ของสิบยกกำลังเลขประจำหลัก ไปใช้ค่าของสองยกกำลังเลขประจำหลักแทน นั่นคือค่าประจำหลักจากหลักทางขวาสุดมาทางซ้าย ดังตัวอย่าง
เลขประจำหลัก | 7 | 6 | 5 | 4 | 3 | 2 | 1 | 0 |
การหาค่าประจำหลัก | 27 | 106 | 105 | 104 | 103 | 102 | 101 | 100 |
ค่าประจำหลัก | 128 | 64 | 32 | 16 | 8 | 4 | 2 | 1 |
ค่าประจำหลักในเลขฐานสอง
แสดงการแปลงเลข 10001
2 ให้อยู่ในรูปฐานสิบ
แสดงการแปลงเลข 1111 0011
2 ให้อยู่ในรูปฐานสิบ
3.2.2 รหัสแทนข้อมูล
ข้อมูลชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอักขระ เสียง รูปภาพ ก็ล้วนต้องถูกแปลงให้อยู่ในกลุ่มของเลขฐานสองก่อนที่จะถูกจัดเก็บและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกระบบสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานการแปลงข้อมูลตัวอักขระเป็นรหัสเลขฐานสอง หรือที่เรียกกันว่า รูปแบบการเข้ารหัส(coding scheme) สำหรับมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายมาตรฐานด้วยกัน เช่น บีซีดี แอสกี และยูนิโค้ด
1. รหัสบีซีดี
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นิยมใช้การเข้ารหัสแบบบีซีดี(Binary Coded decimal:BCD) ซึ่งเป็นการแทนตัวเลขแต่ละตัวด้วยรหัสเลขขนาด 4 บิต ที่มีค่าตรงกับตัวเลขนั้นๆ
ดังตัวอย่าง
เลข | 0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
รหัสบีซีดี | 0000 | 0001 | 0010 | 0011 | 0100 | 0101 | 0110 | 0111 | 1000 | 1001 |
ถ้าเป็นเลขฐานสิบมากกว่าหนึ่งหลัก จะแทนแต่ละหลักด้วยรหัสเลขฐานสองที่มีค่าตรงกับตัวเลขในหลักนั้นๆ เช่น 243 เข้ารหัสแบบบีซีดีได้เป็น 0010 0100 0011 ข้อดีของรหัสบีซีดี คือ การแปลงระหว่างฐานสิบและฐานสองทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือความยุ่งยากในการคำนวณทางคณิตศาสตร์และสิ้นเปลืองจำนวนบิตในการจัดเก็บข้อมูลมากกว่าการแทนค่าฐานสิบทั้งจำนวนด้วยเลขฐานสอง
2. รหัสแอสกี(American Standard Code for Information Interchange:ASCII)
การเข้ารหัสแบบแอสกี เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันทั้งสำหรับพีซีและเครื่องให้บริการ (server) ทั่วไป ซึ่งใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต เข้ารหัสเพื่อแทนอักขระได้ทั้งหมด 256 ตัว โดยที่รหัสทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองชุด ชุดละ 128 ตัว ชุดแรกเป็นรหัสที่ใช้แทนรหัสควบคุม ตัวเลขและอักขระภาษาอังกฤษซึ่งเป็นส่วนที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับชุดหลังจำนวน 128 ตัว ถูกนำไปใช้แทนอักขระที่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ เช่น เส้นตาราง เป็นต้น และยังถูกนำไปใช้แทนอักขระในภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยด้วย ข้อจำกัดของการเข้ารหัสแอสกี คือ ชุดอักขระของภาษาต่างๆไม่สามารถใช้งานพร้อมกันได้ ต้องเลือกใช้งานทีละภาษา และยังไม่รองรับการใช้งานในภาษาที่มีตัวอักขระเป็นจำนวนมาก เช่น ภาษาจีน เนื่องจากการเข้ารหัสด้วยตัวเลขฐานสองจำนวน 8 บิต ไม่สามารถรองรับอักขระได้มากกว่า 256 ตัว
ตารางรหัสแอสกีที่แทนอักขระภาษาอังกฤษและภาษาไทย
จากการที่เลขฐานสอง 1 ไบต์สามารถใช้แทนรหัสได้ 1 อักขระ ดังนั้นถ้ามีข้อความที่ประกอบด้วยอักขระหลายตัวก็ใช้รหัสเลขฐานสองหลายไบต์เรียงต่อกัน เช่น คำว่า คอมพิวเตอร์ จะแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง คือ
1010 0100 1100 1101 1100 0001 1011 1110
1101 0100 1100 0111 1110 0000 1011 0101
1100 1101 1100 0011 1110 1100
ดังตัวอย่าง
เลขฐานสอง | อักขระ |
1010 0100 | ค |
1100 1101 | อ |
1100 0001 | ม |
1011 1110 | พ |
1101 0100 | ิ |
1100 0111 | ว |
1110 0000 | เ |
1011 0101 | ต |
1100 1101 | อ |
1100 0011 | ร |
1110 1100 | ์ |
3. รหัสยูนิโค้ด(Unicode)
การเข้ารหัสยูนิโค้ด ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้รองรับตัวอักขระภาษาต่างๆ ในโลกได้เกือบทั้งหมด รหัสยูนิโค้ดมีด้วยกันหลายมาตรฐาน เช่น UTF-16 และ UTF-8 สำหรับแบบ UTF-8 ถูกออกแบบให้ใช้งานร่วมกับการเก็บข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแบบแอสกีได้ง่าย และมีการรองรับการใช้งานในหลายระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
ตารางรหัสแอสกีที่แทนอักขระภาษาอังกฤษและภาษาไทย
จากการที่เลขฐานสอง 1 ไบต์สามารถใช้แทนรหัสได้ 1 อักขระ ดังนั้นถ้ามีข้อความที่ประกอบด้วยอักขระหลายตัวก็ใช้รหัสเลขฐานสองหลายไบต์เรียงต่อกัน เช่น คำว่า คอมพิวเตอร์ จะแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง คือ
1010 0100 1100 1101 1100 0001 1011 1110
1101 0100 1100 0111 1110 0000 1011 0101
1100 1101 1100 0011 1110 1100
ดังตัวอย่าง
เลขฐานสอง | อักขระ |
1010 0100 | ค |
1100 1101 | อ |
1100 0001 | ม |
1011 1110 | พ |
1101 0100 | ิ |
1100 0111 | ว |
1110 0000 | เ |
1011 0101 | ต |
1100 1101 | อ |
1100 0011 | ร |
1110 1100 | ์ |
3. รหัสยูนิโค้ด(Unicode)
การเข้ารหัสยูนิโค้ด ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้รองรับตัวอักขระภาษาต่างๆ ในโลกได้เกือบทั้งหมด รหัสยูนิโค้ดมีด้วยกันหลายมาตรฐาน เช่น UTF-16 และ UTF-8 สำหรับแบบ UTF-8 ถูกออกแบบให้ใช้งานร่วมกับการเก็บข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแบบแอสกีได้ง่าย และมีการรองรับการใช้งานในหลายระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
3.3 หน่วยรับเข้า
ข้อมูลเข้า คือข้อมูลหรือชุดคำสั่งซึ่งข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล สำหรับชุดคำสั่ง อาจเป็นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์หรือคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งให้ทำงาน
หน่วยรับเข้า (Input unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อใช้ในการประมวลผล ตัวอย่างอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติ๊ก จอสัมผัส เครื่องอ่านพิกัด สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด กล้องดิจิตอล และเว็บแคม
อุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าชนิดต่างๆ
3.3.1 คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ดหรือแผงแป้นอักขระ (keyboard) เป็นอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าที่มีใช้กันในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกเครื่อง คีย์บอร์ดแบบตั้งโต๊ะโดยทั่วไปจะมีแป้นพิมพ์จำนวน 105 ปุ่มแยกออกเป็นกลุ่มตามประเภทของการใช้งาน เช่น แป้นอักษร แป้นตัวเลข แป้นลูกศร แป้นควบคุมระบบมัลติมีเดีย และแป้นควบคุมลักษณะการทำงานของปุ่มอื่น
รายละเอียดปุ่มบนคีย์บอร์ด
ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคไร้สาย คีย์บอร์ดก็ได้ถูกพัฒนาให้ใช้งานแบบไร้สายเช่นกัน โดยคีย์บอร์ดแบบไร้สายนั้นจะมีตัวรับสัญญาณเชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ส่วนตัวคีย์บอร์ดจะไม่มีสายเชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ แต่จะใช้สัญญาณวิทยุหรือสัญญาณอินฟาเรดในการส่งสัญญาณว่ามีการกดปุ่มไปยังตัวรับสัญญาณทำให้สามารถเคลื่อนย้ายคีย์บอร์ดได้สะดวก
คีย์บอร์ดแบบไร้สาย และตัวรับสัญญาณแบบยูเอสบี
3.3.2 เมาส์
เมาส์ (mouse) เป็นอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าที่ต้องใช้ร่วมกับจอภาพ เมื่อผู้ใช้เคลื่อนเมาส์ ตัวชี้เม้าส์ (mouse pointer) บนจอภาพจะเคลื่อนไปในทิศทางและความเร็วที่สัมพันธ์กัน เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกสิ่งใดบนจอภาพ จะใช้วิธีเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปทับบนสิ่งนั้นแล้วคลิกปุ่มบนเมาส์
เมาส์ที่มีหลายปุ่ม
เมาส์โดยทั่วไปมี 2 ปุ่ม หน้าที่ของแต่ละปุ่มอาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับโปรแกรมประยุกต์และระบบปฎิบัติการที่ใช้งาน นอกจากนี้เมาส์รุ่นใหม่ๆจะมีปุ่มที่สาม ซึ่งมีลักษณะเป็นล้อหมุนได้ ที่เรียกว่าวิลบัตทอน(wheel button) และเมาส์พิเศษบางรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้เล่นเกมหรือใช้กับโปรแกรมเฉพาะบางอย่างอาจจะมีปุ่มมากกว่า 3 ปุ่มอีกด้วย
เทคนิคการตรวจรู้ตำแหน่งหรือการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเมาส์มี 2 แบบคือ
1. เมาส์แบบกลไล
ใช้วิธีตรวจสอบการหมุนของลูกบอลเล็กๆที่อยู่ใต้เมาส์ จุดอ่อนของเมาส์แบบนี้คือต้องใช้กับพื้นผิวโต๊ะที่มีความฝืดเล็กน้อยเพื่อให้ลูกบอลหมุนเวลาที่ผู้ใช้เคลื่อนเมาส์ไปมา หรือมิเช่นนั้นต้องใช้งานร่วมกันแผ่นรองเมาส์ (mouse pad) ที่ถูกออกแบบมาให้มีความฝืดพอดีและยังมีปัญหาเรื่องความสกปรกที่จะติดเข้าไปกับลูกบอล เมื่อใช้เมาส์ไปนานๆสิ่งสกปรก เช่น คราบเหงื่อจากมือของผู้ใช้จะถูกลูกบอลพาเข้าไปเกาะติดที่กลไกภายในเมาส์ทำให้เมาส์ทำงานไม่แม่นยำ ผู้ใช้จึงต้องทำความสะอาดบ่อยๆ
เมาส์แบบกลไก
2. เมาส์แบบแสงหรือเลเซอร์
จะใช้วิธีส่งแสงหรือเลเซอร์ไปยังพื้นที่สะท้อนแสงได้ เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเมาส์แทนกลไกของลูกบอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรองเมาส์และยังไม่มีปัญหาเรื่องความสกปรก อีกทั้งยังมีความแม่นยำดีกว่าเมาส์แบบกลไก
เมาส์แบบแสง
เนื่องจากเมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องถูกขยับหรือเคลื่อนไปมาตลอดเวลาที่ใช้งานจึงมีการพัฒนาเป็นเมาส์แบบไร้สายมีลักษณะการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์คล้ายกับคีย์บอร์ดแบบไร้สาย ไม่มีสายของเมาส์ระโยงระยาง ทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น
เมาส์แบบไร้สาย
ในการใช้งานเมาส์กับคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊กนั้นได้มีการออกแบบอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับเมาส์แต่ติดตั้งอยู่บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กเลย เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ เช่น แท่งชี้ (pointing stick) แป้นสัมผัส(touchpad)
แท่งชี้และแป้นสัมผัสของคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค
แท่งชี้
จะมีลักษณะเป็นปุ่มที่ยื่นขึ้นมาจากตรงกลางของคีย์บอร์ดทำงานร่วมกับปุ่มสองปุ่มที่อยู่ตรงส่วนล่างของคีย์บอร์ด การทำงานกับแท่งชี้ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วแตะขยับส่วนบนของแท่งชี้ไปยังทิศทางต่างๆได้เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้บนจอ และใช้การกดปุ่มซ้ายหรือขวาแทนการคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายหรือเมาส์ปุ่มขวา ตามลำดับ
แท่งชี้
แป้นสัมผัส
มีลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆซึ่งไวต่อการสัมผัสสามารถตรวจสอบทิศทางการเคลื่อนที่และแรงกดของนิ้วได้ โดยจะมีปุ่มสองปุ่มอยู่ด้านล่างของแป้นสัมผัส ซึ่งทำหน้าที่แทนปุ่มบนเมาส์เช่นเดียวกับกรณีของแท่งชี้ ผู้ใช้จะใช้นิ้วสัมผัสบนแป้น และเลื่อนนิ้วไปมาเพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้บนจอภาพ เมื่อต้องการคลิกเลือกสิ่งใดบนจอภาพ สามารถใช้นิ้วเคาะไปบนแป้นสัมผัส หรือกดปุ่มที่ด้านล่างก็ได้
แป้นสัมผัส
3.3.3 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสำหรับเกม
เกมส์คอมพิวเตอร์หรือเกมคอนโซลที่ต้องเชื่อมต่อเข้ากบจอภาพภายนอก เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ จะใช้อุปกรณ์ที่ถูกออแบบมาเฉพาะให้สามารถรับข้อมูลเข้าได้โดยอาศัยเพียงการเคลื่อนไหวของนิ้วหรือข้อมือไปยังทิศทางที่ต้องการเท่านั้น อุปกรณ์เหล่านี้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องให้มีความสามารถมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น จอยสติ๊ก(joystick) เกมแพด(gamepad) พวงมาลัยและคันเหยียบ(wheel and pedal) และอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้การตรวจจับการเคลื่อนไหว(motion-sensing game controller)
จอยสติ๊กหรือก้านควบคุม
จอยสติ๊กมีลักษณะเป็นคันโยกตั้งอยู่บนฐานเล็กๆอาจมีปุ่มหลายปุ่มอยู่ที่ฐานเพื่อใช้ในการทำหน้าที่แตกต่างกันได้อยู่กับแต่ละเกมจะกำหนดไว้ผู้ใช้โยกคันโยกไปในทิศทางต่างๆให้กับตัวละครในเกม
ก้านควบคุม
เกมแพด
เกมแพดมีลักษณะเป็นแป้นควบคุมเล็กๆที่มีผู้เล่นเกมสามารถถือไว้ได้ด้วยมือทั้งสองข้าง ซึ่งบนตัวเกมแพดจะมีการวางปุ่มที่ใช้ควบคุมหลายๆปุ่มไว้ในตำแหน่งที่สะดวกในการกดด้วยนิ้วต่างๆทำให้การควบคุมทำได้ง่าย และหลากหลายมากขึ้น
เกมแพด
อุปกรณ์ควบคุมแบบพวงมาลัยและคันเหยียบ
สำหรับเกมประเภทที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะ ถึงแม้ว่าผู้เล่นจะสามารถใช้จอยสติกควบคุมการเล่นเกมส์ได้ แต่ก็ได้มีการออกแบบพวงมาลัยและคันเหยียบของรถยนต์เพื่อให้การเล่นเกมส์มีความสมจริงมากขึ้น
อุปกรณ์ควบคุมแบบพวงมาลัยและคันเหยียบ
อุปกรณ์ควบคุมแบบแผ่นรองเต้น
แผ่นรองเต้นเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ออกแบบให้รับข้อมูลเข้าเป็นจังหวะการเต้นของเท้าผู้เล่นเกม แผ่นนี้ทำจากพลาสติกที่ภายในมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับแรงกดจากเท้า ที่เคลื่อนไปในจังหวะของเพลง โดยเกมประเภทนี้จะตรวจสอบความสามารถในการขยับเท้าเข้าจังหวะของผู้เล่นกับเพลงที่กำหนดให้
อุปกรณ์ควบคุมแบบแผ่นรองเต้น
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้การตรวจจับการเคลื่อนไหว
อุปกรณ์ชนิดที่มีลักษณะคล้ายรีโมทคอนโทรลเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในมีอุปกรณ์ตรวจสอบทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนไหว และเชื่อมต่อกับเครื่องเกมส์โดยใช้ระบบบลูทูท ผู้เล่นเกมส์จะจับรีโมทไว้ในมือและขยับมือหรือทำท่าทางต่างๆโดยตัวอุปกรณ์จะตรวจจับการเคลื่อนไหวและตำแหน่ง แล้วส่งข้อมูลให้กับเครื่องเกมส์เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวละครในเกมส์ที่สัมพันธ์กับจังหวะของผู้เล่นเกมส์
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้การตรวจจับการเคลื่อนไหว
ในปัจจุบันอุปกรณ์ควบคุมการเล่มเกมส์มีการพัฒนาไปมากทั้งในด้านประสิทธิภาพความแม่นยำของการควบคุมความหลากหลายของการควบคุมที่มากขึ้น การเชื่อมต่อกับเครื่องเกมหรือคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนไปเป็นแบบไร้สายกันมากขึ้น นอกจากนี้อุปกรณ์ควบคุมสมัยใหม่ยังทำให้ผู้เล่นเกมต้องมีการขยับเคลื่อนไหวร่างกายในขณะเล่นซึ่งอาจถือเป็นการออกกำลังกายเบาๆได้อีกทางหนึ่งด้วย
3.3.4 จอสัมผัส
จอสัมผัส (touch screen) เป็นจอคอมพิวเตอร์ที่ไวต่อการสัมผัสที่พื้นผิวของจอ จอสัมผัสจะส่งตำแหน่งที่มีการแตะกลับไปยังโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกตัวอักษร รูปภาพหรือคำต่างๆจากหน้าจอได้โดยไม่ต้องใช้คีย์บอร์ด อย่างไรก็ตามจอสัมผัสไม่สะดวกที่จะใช้ป้อนข้อมูลจำนวนมาก เนื่องจากผู้ใช้ต้องขยับแขนทำให้เมื่อยล้า
ปัจจุบันมีการใช้งานจอสัมผัสกันมากในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องดิจิตอล พีดีเอ ผู้ใช้สามารถป้อนหมายเลขโทรศัพท์ เลือกเมนู หรือป้อนข้อความสั้นๆได้ด้วยการแตะไปที่รูปของคีย์บอร์ดบนหน้าจอสัมผัสโดยตรง ซึ่งการเลือกในจอสัมผัสอาจใช้นิ้วหรือสไตลัส(stylus)ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนบนจอสัมผัส
จอสัมผัส
3.3.5 เครื่องอ่านพิกัด
เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) หรืออาจเรียกว่าแผ่นระนาบกราฟิก(graphic tablet) เป็นอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าที่มีส่วนประกอบ 2 ชิ้น ได้แก่ กระดานแบบสี่เหลี่ยมที่มีเส้นแบ่งเป็นตาราง (grid) ของเส้นลวดที่ไวต่อการสัมผัสสูง และปากกาที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ตำแหน่งหรือวาดรูปบนกระดานข้างต้น คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ตำแหน่งของกระดานที่มีการสัมผัสหรือการวาดเส้นและแสดงบนจอภาพได้ อุปกรณ์ชนิดนี้มักใช้ในการออกแบบงานกราฟิกต่างๆ
เครื่องอ่านพิกัด
3.3.6 สแกนเนอร์
สแกนเนอร์ หรือเครื่องกราดตรวจ (scanner) ทำงานในลักษณะคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยส่งแสงไปที่เอกสารเพื่อให้ตัวรับแสงอ่านเอกสารให้อยู่ในรูปของรูปภาพดิจิทัล สแกนเนอร์สามารถรับข้อมูลเป็นรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์ได้
สแกนเนอร์
3.3.7 เครื่องอ่านบาร์โค้ด
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader) มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องสแกนเนอร์ โดยทำการส่งแสงเลเซอร์ไปยังบาร์โค้ด แล้วมีตัวอ่านการสะท้อนของแสงดังกล่าวที่ตัวอุปกรณ์ จากนั้นจะแปลงค่าที่อ่านได้เป็นตัวเลขที่คอมพิวเตอร์จะนำไปประมวลผลต่อไป
เครื่องอ่านบาร์โค้ดนิยมใช้กันในการอ่านบาร์โค้ดหรือรหัสแท่งของสินค้าเพื่อคิดราคาตามร้านค้า
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
3.3.8 กล้องดิจิตอล
กล้องดิจิตอล (digital camera) เป็นอุปกรณ์ที่ถ่ายภาพลงบนสื่อบันทึกข้อมูล ในรูปของข้อมูลภาพดิจิตอลโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ผู้ใช้สามารถตรวจสอบภาพที่จะถ่ายได้จากจอภาพขนาดเล็กที่ด้านหลังของกล้อง และสามารถดูภาพที่ถ่ายแล้วได้ทันทีเช่นกัน
ข้อมูลที่เก็บเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล โดยภาพแต่ละภาพประกอบด้วยจุด(pixel) เล็กๆจำนวนมาก ความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดดังกล่าว กล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีความละเอียดของภาพอยู่ระหว่าง 1 ล้านไปจนถึงมากกว่า 20 ล้านจุด
กล้องดิจิตอล
| | | |
| | | |
|
การกำหนดความละเอียดของภาพ
ความละเอียดของภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลสามารถกำหนดได้แต่ต้องไม่เกินจำนวนจุดของกล้องที่สามารถถ่ายได้ เช่น กล้องขนาด 2 ล้านจุด สามารถตั้งความละเอียดขนาด 1,600x1,200 เท่ากับ 1,920,000 จุด โดยภาพที่ได้จะมีขนาด 1,920,000 x 3 = 5,760,000 ไบต์ เนื่องจากหนึ่งจุดมีค่าสี 3 สี แต่ละค่าใช้หน่วยความจำ 1 ไบต์ ถ้าภาพขนาด 3,504 x 2,336 จุด จะมีขนาดเท่ากับ 8,185,344 x 3 =24,556,032 ไบต์ หรือประมาณ 24 เมกะไบต์ ปัจจุบันกล้องดิจิทัลไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ในรูปแบบของกล้องถ่ายภาพแต่เพียงอย่างเดียว
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่นได้มีการเพิ่มเติมความสามารถในการถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับกล้องดิจิทัลเข้าไปด้วย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่และพีดีเอ เมื่อผู้ใช้ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลแล้วสามารถเลือกที่จะเก็บรูปไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อตกแต่งภาพในภายหลัง หรือสามารถนำไปสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษอัดภาพได้ในลักษณะเดียวกับการใช้กล้องฟิล์มในอดีต ทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นการลดความสิ้นเปลืองและลดระยะเวลาการรอที่จะได้เห็นภาพเมื่อเทียบกับการใช้กล้องฟิล์มด้วย
| |
| | | |
ปัจจุบันกล้องดิจิตอลไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ในรูปแบบของกล้องถ่ายภาพแต่เพียงอย่างเดียว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่นได้มีการเพิ่มเติมความสามารถในการถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับกล้องดิจิตอลเข้าไปด้วย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ และพีดีเอ เมื่อผู้ใช้ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลแล้ว สามารถเลือกที่จะเก็บรูปไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อตกแต่งภาพในภายหลัง หรือสามารถนำไปสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษอัดภาพได้ในลักษณะเดียวกันกับการใช้กล้องฟิล์มในอดีต ทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นการลดความสิ้นเปลืองและลดระยะการรอที่จะได้เห็นภาพเมื่อเทียบกับการใช้กล้องฟิล์มด้วย ตัวอย่างกล้องดิจิตอลแบบต่างๆ
กล้องดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ
3.3.9 เว็บแคม
เว็บแคม (web cam) เป็นกล้องที่ใช้จับภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวแล้วแสดงผลผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวกล้องจะไม่มีซีพียู โดยปกติจะต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ
ปัจจุบันเว็บแคมจะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดมากับคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ก การใช้งานนิยมใช้ในการสนทนาในลักษณะที่ต้องการเห็นภาพคู่สนทนา เช่น การประชุมทางไกล และการเรียนทางไกล
เว็บแคม
อย่างไรก็ตามเมื่อเว็บแคมเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ของสังคมตามมา คือ มีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร หรือภาพที่ไม่เหมาะสมผ่านทางอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ทั้งที่ผู้ที่อยู่ในภาพเองจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจผู้ใช้เว็บแคมทุกคนจึงควรตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้งานและการเผยแพร่ข้อมูลที่ได้จากเว็บแคมด้วย
3.4 หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซีพียู(Central Processing Unit : CPU) หรือ โพรเซสเซอร์(processor) ทำหน้าที่แปลและกระทำการตามคำสั่งพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม อาจจะมีซีพียูหลายตัวทำงานร่วมกัน ซีพียูของพีซีมักจะอยู่ในซิปเพียงตัวเดียวควบคุมการทำงานของทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ บางครั้งเรียกซีพียูว่าไมโครโพรเซสเซอร์(microprocessor)
ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับความเร็วในการประมวลผลของซีพียูเป็นสำคัญ โดยความเร็วของหน่วยประมวลผลกลางนั้นวัดเป็นจำนวนรอบของเครื่องหรือจำนวนของคำสั่งที่สามารถกระทำได้ในหนึ่งวินาที ซีพียูในพีซี เช่นชิปเพนเทียมของบริษัทอินเทล สามารถทำงานได้ถึง 3 พันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที หรือเรียกว่าเพนเทียมมีความเร็ว 3 กิกะเฮิรตซ์นั่นเอง
ซีพียู
ในหน่วยประมวลผลกลางหนึ่งๆ มีองค์ประกอบหลักคือ หน่วยควบคุม(control unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ(Arithmetic Logic Unit : ALU) ซึ่งทำงานประสานกันดังนี้
หน่วยควบคุม
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ในการควบคุมลำดับการทำงานภายในหน่วยประมวลผลกลางระหว่างที่ทำการประมวลผลหน่วยควบคุมจะแปลคำสั่งของแต่ละโปรแกรม และสั่งการส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์เพื่อให้บรรลุผลตามคำสั่งนั้นๆ
หน่วยคำนวณและตรรกะ
หน่วยคำนวณและตรรกะทำหน้าที่ประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในลักษณะของสัญญาณดิจิทัล เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบข้อมูล
ชิปของซีพียูในปัจจุบันมีซีพียูหลายตัว เช่น ซีพียูดูอัลคอร์ (dual-core processor) และ ควอดคอร์ (quad-core processor) ซึ่งจะมีซีพียู 2 และ 4 ตัว ตามลำดับ
3.5 หน่วยความจำ
หน่วยความจำ (memory unit) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งเพื่อรอการประมวลผลโดยซีพียู ซึ่งข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งเหล่านี้ได้ถูกนำเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว หน่วยความจำแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้(non-volatile memory) และหน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้ (volatile memory)
หน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้
คือ หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง รอม (Read-0nly Memory:ROM)เป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ ข้อมูลที่เก็บในรอมจะไม่สามารถถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ที่เรียกว่าไบออส(Basic Input/Output System:BIOS) ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตไบออส จึงต้องบรรจุข้อมูลหรือโปรแกรมลงไว้ในรอมตั้งแต่กระบวนการผลิต หน้าที่ของรอม คือเก็บโปรแกรมสำคัญที่ใช้ในการเริ่มต้นทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะไม่มีการแก้ไขตลอดอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ชิปของรอม
| | | |
| | | |
|
ตัวอย่างหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้
นอกจากรอมจะเป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรอม แต่ก็มีผู้พัฒนาหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้ที่สามารถลบหรือเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบหรือเขียนข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรมวิธีพิเศษ ตัวอย่างหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบเลือนได้มีดังนี้
พร็อม (Programmable Read-Only Memory:PROM)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้งและไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้
อีพร็อม (Erasable PROM:EPROM)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถบันทึกโดยใช้เครื่องมือพิเศษและสามารถลบข้อมูลโดยใช้แสงอัลตราไวโอเลต
อีอีพร็อม (Electrically Erasable PROM:EEPROM)
เป็นหน่วยความจำที่ผู้ใช้สามารถลบข้อมูลได้โดยอาศัยการกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติจนทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในสูญหายไป และสามารถบันทึกคำสั่งหรือโปรแกรมใหม่ได้
หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เทคโนโลยีการลบและการบันทึกข้อมูลใหม่ที่คล้ายกับอีอีพร็อมโดยมีการพัฒนาให้มีความสามารถในการลบและบันทึกข้อมูลใหม่ได้รวดเร็วแต่ต้องทำการลบข้อมูลเป็นบล็อกหรือกลุ่มชุดข้อมูลชุดใหญ่ๆเท่านั้น ไม่สามารถลบหรือเขียนข้อมูลใหม่ที่ละไบต์ได้ ปัจจุบันหน่วยความจำแบบแฟลชนิยมใช้ในการบันทึกข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ และโทรศัพท์เคลื่อนที่
| |
| | | |
หน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้
เป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
แรม(Random Access Memory:RAM)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้ เพราะหากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งที่อยู่ในแรมจะสูญหายไป
ดังนั้นแรมจึงทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไปในขณะที่คอมพิวเตอร์เปิดทำงานเท่านั้น
แผงวงจรของแรมแบบต่างๆ
3.6 หน่วยส่งออก
ข้อมูลส่งออกคือ ผลลัพธ์ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของอักขระ ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก (output unit) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง
3.6.1 จอภาพ
จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์ของหน่วยส่งออกซึ่งใช้แสดงข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัวอักขระ และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันแสดงภาพด้วยจำนวนสีที่สูงมาก ทำให้ได้ภาพที่สวยงามใกล้เคียงกับสีของภาพจริง ในอุปกรณ์ขนาดเล็กบางชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นพื้นฐาน อาจใช้จอภาพขนาดเล็กที่เป็นจอขาว-ดำ เนื่องจากราคาถูกกว่าและประหยัดพลังงานมากกว่าจอสี
จอภาพสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มีสองประเภท คือ ซีอาร์ทีและแอลซีดี
จอภาพแบบซีอาร์ที
จอภาพแบบซีอาร์ที (cathode Ray Tube:CRT) ใช้เทคโนโลยีของหลอดรังสีอิเล็กตรอน เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ในการทำให้เกิดภาพ ซึ่งปัจจุบันเริ่มลดความนิยมลงไปแล้ว ฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่อิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้นและเห็นเป็นภาพ จุดภาพแต่ละจุดจะประกอบด้วยสี 3 สี คือแดง เขียว และน้ำเงิน จอภาพแบบนี้มีขนาดตั้งแต่ 14,15,17,19 และ 20 โดยขนาดของจอจะวัดในแนวเส้นทแยงมุมจอภาพ
จอภาพแบบซีอาร์ที
จอภาพแบบแอลซีดี
จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display:LCD) เป็นจอภาพที่มีแนวโน้มการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดที่เล็กและบาง น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลวเพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำเหมาะกับอุปกรณ์แสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ปัจจุบันจอภาพแบบนี้มีใช้กันแพร่หลายในพีซี เนื่องจากราคาถูกลง มีหลายขนาดเช่นเดียวกับจอแบบซีอาร์ที ขนาดของจอภาพแบบแอลซีดีจะมีพื้นที่การมองเห็น (viewable area) ที่ใหญ่กว่าจอแบบซีอาร์ทีที่ขนาดเท่ากัน
จอภาพแบบแอลซีดี
ความคมชัดของจอภาพขึ้นกับระยะห่างจากจุดภาพ (dot pitch) สำหรับคุณภาพของจอภาพถ้าบนจุดจอภาพอยู่ชิดกันมาก ภาพที่ได้จะยิ่งคมชัด และแสดงรายละเอียดขนาดเล็กได้ดีขึ้น ค่าระยะห่างของจุดบนจอภาพควรที่จะน้อยกว่า 0.30 มิลลิเมตร คุณสมบัติของจอภาพที่สำคัญอันหนึ่งคือความละเอียดของการแสดงผล(resolution) หมายถึงจำนวนจุดภาพทั้งหมดที่แสดงบนจอภาพในแนวตั้งและแนวนอน
มาตรฐาน ความละเอียด | จำนวนจุด ที่แสดงในแนวนอน | จำนวนจุด ที่แสดงในแนวตั้ง | ความละเอียด ของการแสดงผล | จำนวนจุด |
VGA | 640 | 480 | 640x480 | 307,200 |
SVGA | 800 | 600 | 800x600 | 480,000 |
XGA | 1,024 | 768 | 1,024x768 | 786,432 |
SXGA | 1,280 | 1,024 | 1,280x1,024 | 1,310,720 |
ตัวอย่างมาตรฐานความละเอียดของจอภาพแบบซีอาร์ที
ขนาดจอภาพ (นิ้ว) | จำนวนจุด ที่แสดงในแนวนอน | จำนวนจุด ที่แสดงในแนวตั้ง | ความละเอียด ของการแสดงผล | จำนวนจุด |
19 | 1,440 | 900 | 1,440x900 | 1,296,000 |
22 | 1,680 | 1,050 | 1,680x1,050 | 1,764,000 |
ตัวอย่างมาตรฐานความละเอียดของจอภาพแอลซีดี
3.6.2 เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ของหน่วยส่งออกที่ใช้ในการแสดงผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานต่อไปได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะพิมพ์ลงบนกระดาษ
1. เครื่องพิมพ์แบบจุด
เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) มีหัวพิมพ์เป็นเข็มขนาดเล็กหลายเข็มเมื่อต้องการพิมพ์ตัวอักษรใด เครื่องพิมพ์จะสั่งให้หัวเข็มบางหัวทำการกระแทกลงบนผ้าหมึกเพื่อให้ปรากฏเป็นรูปของตัวอักษรที่เกิดจากจุดเรียงต่อกัน หัวเข็มอาจจะมี 9 หรือ 24 หัว การพิมพ์จะพิมพ์ทีละหนึ่งตัวอักษร ทีละบรรทัดจากด้านซ้ายไปยังด้านขวาของกระดาษ
แม้ว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดจะมีข้อจำกัดในด้านการพิมพ์ภาพกราฟิก และเสียงดังจากการทำงาน แต่ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันในงานเฉพาะ เช่น งานพิมพ์เอกสารทางการเงินที่ต้องการสำเนาหลายชุด เป็นต้น
เครื่องพิมพ์แบบจุด
2.เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการทางแสงทำให้ผงหมึกไปติดกระดาษที่ต้องการพิมพ์ มีความเร็วในการพิมพ์สูง สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่า 10 แผ่นต่อนาที(page per minute:ppm) สามารถพิมพ์ตัวอักษร และภาพกราฟิกที่มีความคมชัดสูง โดยมีความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า 600 จุดต่อนิ้ว (dot per inch:dpi) มีทั้งแบบที่พิมพ์เอกสารขาวดำ และแบบสี เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ไม่สามารถพิมพ์สำเนาได้เหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง
3. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) ใช้การพ่นน้ำหมึกหยดเล็กๆลงไปบนพื้นผิวที่ต้องการพิมพ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษอาจจะเป็นพื้นผิวพลาสติกบนแผ่นซีดี หรือแม้กระทั่งเสื้อยืดและสามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีราคาไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบอื่น จึงนิยมใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสำนักงานขนาดเล็ก
เทคโนโลยีที่ดีขึ้นมากในปัจจุบันสามารถทำให้หยดหมึกมีขนาดเล็กลงจึงทำให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีความละเอียดในการพิมพ์สูงมากจนเทียบเท่า หรืออาจจะดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์บางรุ่น ข้อเสียของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือกล่องน้ำหมึก (ink catridge) มีขนาดเล็กและรองรับการพิมพ์ได้ไม่มาก กล่องน้ำหมึกโดยทั่วไปจะรองรับงานพิมพ์เอกสารได้ประมาณ 500 แผ่น ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
3.7 หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้เพื่อใช้งานในอนาคตเนื่องจากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำงานจะอยู่ในแรม หรือหน่วยความจำที่ลบเลือนได้ ซึ่งเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลจะสูญหาไปหมด เมื่อต้องการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมเดิมอีกครั้ง ซีพียูก็จะอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้เพื่อประมวลผลได้อีก หน่วยเก็บข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และหน่วยความจำแฟลช
3.7.1 แผ่นบันทึก
แผ่นบันทึก (diskette) หรือฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy disk) ที่อาจมีใช้กันในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์ โดยตัวแผ่นบันทึกทำจากแผ่นพลาสติกบางฉาบผิวทั้งสองด้านด้วยสารแม่เหล็ก และแผ่นนี้ถูกปกป้องโดยบรรจุอยู่ในซองพลาสติกแข็ง มีช่องเปิดให้หัวอ่านเข้าไปอ่านข้อมูลบนแผ่นได้ ซึ่งปกติจะถูกปิดอยู่ แต่เมื่อสอดแผ่นบันทึกเข้าไปในเครื่องอ่าน ช่องนี้จะถูกเปิดออกและแผ่นจะถูกหมุนด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง หัวอ่านจะสามารถเลื่อนไปมาในช่องเปิดเพื่อนอ่านหรือเขียนข้อมูลบนแผ่นทั้งสองด้านได้
แผ่นบันทึก
การเก็บข้อมูลจะทำโดยบันทึกลงไปที่ผิวของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัวแผ่นจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำแหน่งที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่และแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่าเซกเตอร์ (sector) การที่หัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูลเลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง รวดเร็วกว่าแถบบันทึกข้อมูลมีขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก มีความจุน้อยและการอ่านเขียนยังทำได้ช้า แผ่นบันทึกจึงค่อยๆลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังคงพบเห็นเครื่องขับแผ่นบันทึกได้บ้าง
โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลบนแผ่นบันทึก
3.7.2 ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งเคลือบด้วยสารแม่เหล็กที่ผิวทั้งสองด้านจำนวนหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน มีหัวอ่านหนึ่งหัวต่อหนึ่งด้านของแผ่นบันทึกข้อมูล ซึ่งยิดติดอยู่บนแขนที่เลื่อนเข้าออกได้ตั้งแต่ด้านนอกจนถึงด้านในสุดของแผ่นอุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะถูกบรรจุอยู่ในกล่องที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันฝุ่นและการกระทบกระเทือน
ฮาร์ดดิสก์
การบันทึกข้อมูลจะอยู่ในลักษณะเป็นวงแหวน เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์ (cylinder) และแต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์
โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิกส์เป็นอุปกรณ์ที่มีความจุสูง เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 160 กิกะไบต์ หรือ 1 เทระไบต์ ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงอย่างมากตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์รุ่นที่ออกแบบให้ใช้กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กมีขนาดเพียง 1.8 หรือ 2.5 นิ้ว อีกทั้งยังมีความจุสูงมากเกือบเทียบเท่าฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีแบบตั้งโต๊ะ โดยมีความจุสูงมากกว่า 500 กิกะไบต์ ดังนั้นจึงนิยมนำฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กดังกล่าวมาใช้เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบพกพา
ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา
3.7.3 แผ่นซีดี
แผ่นซีดี (Compact Disc :CD) เป็นแผ่นพลาสติกที่เคลือบด้วยสารสะท้อนแสงมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว การอ่านและเขียนข้อมูลจะใช้ลำแสงเลเซอร์ส่องและสะท้อนกลับ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก คงทน และมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากถึง 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น
แผ่นซีดี
แผ่นซีดีมีหลายประเภทโดยแบ่งตามชนิดการเขียนและอ่าน ดังนี้
1. ซีดีรอม (compact Disc-Read only Memory:CD-Rom)
สามารถบันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียวโดยถูกบันทึกมาจากโรงงาน
ซีดีรอม
2. ซีดีอาร์ (compact Disc-Recordable:CD-R)
สามารถบันทึกโดยใช้เครื่องขับแผ่นซีดีอาร์ หรือดีอาร์ไดร์ฟ (CD-R drive) ที่สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ ข้อมูลที่บันทึกไปแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกทับได้ แต่หากมีเนื้อที่เหลืออยู่ก็สามารถบันทึกข้อมูลอื่นลงในเนื้อที่ว่างได้
ซีดีอาร์
3. ซีดีอาร์ดับเบิลยู (Compact Disc-Rewriteble:CD-RW)
สามารถลบและบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง
ซีดีอาร์ดับเบิลยู
3.7.4 แผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดี (Digital Versatile Disc:DVD) ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาจากแผ่นซีดี ทำให้มีความจุของข้อมูลสูงกว่าแผ่นซีดีมาก สำหรับแผ่นดีวีดีที่ผลิตมาจากโรงงาน จะสามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว เรียกว่าดีวีดีรอม (DVD-ROM) มีความจุสูงถึง 4.7 กิกะไบต์และ 8.5 กิกะไบต์ โดยดีวีดีขนาด 4.7 กิกะไบต์มีการบันทึกข้อมูลแบบหนึ่งชั้น และขนาด 8.5 กิกะไบต์มีการบันทึกข้อมูลแบบสองชั้นในแผ่นเดียวกันซึ่งในท้องตลาดเรียกว่าดีวีดีที่มีการบันทึกแบบหนึ่งชั้น ดีวีดี 5 และแบบสองชั้นเรียกว่าดีวีดี 9
และเช่นเดียวกับแผ่นซีดี แผ่นดีวีดีก็ได้มีการพัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดีได้ด้วยตนเอง โดยแผ่นดีวีดีที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า ดีวีดีอาร์(DVD-recordable:DVD-R) และแผ่นดีวีดีที่ลบและบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง จะเรียกว่าดีวีดีอาร์ดับเบิลยู(DVD-rewritable:DVD-RW) ซึ่งแผ่นดีวีดีที่บันทึกได้เหล่านี้มีด้วยกันสองมาตรฐาน คือบวกและลบ(+ และ -) โดยมีชื่อย่อเรียกว่า DVD-R,DVD-RW,DVD+R และ DVD+RW ในปัจจุบันเครื่องบันทึกแผ่นดีวีดีที่สามารถรองรับการบันทึกและอ่านแผ่นดีวีดีได้ทั้งสองมาตรฐานมีใช้กันแพร่หลายแล้ว ผู้ใช้จึงไม่ต้องกังวลกับมาตรฐานที่แตกต่างกันของแผ่นดีวีดี แต่ถ้าต้องการนำแผ่นดีวีดีไปใช้งานกับเครื่องอ่านรุ่นเก่า ผู้ใช้งานยังคงต้องตรวจสอบว่าเครื่องอ่านของตนเองรองรับมาตรฐานของแผ่นแบบใดบ้าง
แผ่นดีวีดี
นอกจากแผ่นซีดีและดีวีดีที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันแล้ว ได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ของแผ่นบันทึกข้อมูลแบบพลาสติกขึ้นมาอีก ที่เรียกว่า แผ่นบลูเรย์ (Blu-ray Disc-Rom:BD-ROM) สามารถบันทึกข้อมูลทั้งสองชั้นรวมกันแล้วได้สูงถึงแผ่นละ 50 กิกะไบต์ ซึ่งแผ่นบลูเรย์ในแบบบีดีอาร์ดี (Blu-ray Disc Rewritable Disc Rewritable :BD-RE) ก็ได้ถูกพัฒนามาให้สามารถลบและบันทึกซ้ำได้
แผ่นบลูเรย์
3.7.5 หน่วยความจำแบบแฟลช
หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ทำงานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ไม่ต้องใช้แผ่นบันทึก เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากขนาดเล็ก ความจุสูง และราคาถูก ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแผ่นหน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory card) หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแฟลชที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านยูเอสบี(USB flash drive) การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งาน
หน่วยความจำแบบแฟลช
ถูกออกแบบให้เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำหรับอุปกรณ์เฉพาะอย่าง เช่น กล้องดิจิทัล โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือพีดีเอ ซึ่งแต่ละรุ่นจะกำหนดว่าต้องใช้งานกับแผ่นหน่วยความจำแบบแฟลชชนิดใดได้บ้าง แผ่นหน่วยความจำแบบแฟลชนี้มีความจุแตกต่างกันตั้งแต่ความจุไม่มาก เช่น 64 เมกะไบต์ ไปจนถึงความจุสูงมาก เช่น 4,8 หรือ 16 กิกะไบต์ และกำลังมีความพยายามพัฒนาให้มีความจุได้สูงเกิน 1 เทระไบต์ การใช้แผ่นหน่วยความจำแบบแฟลชกับคอมพิวเตอร์สามารถทำได้สองรูปแบบคือ เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้แผ่นหน่วยความจำแบบแฟลชกับเครื่องอ่านเชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง แผ่นหน่วยความจำแบบแฟลช เช่น CompactFlash หรือ CF,Secure Digital หรือ SD,microSD,miniSD,XD Picture Card,และ Memory Stick
หน่วยความจำแบบแฟลชชนิดต่างๆ
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแฟลชที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านยูเอสบี
หรือที่เรียกว่า แฮนดีไดรฟ์ (handy drive) หรือมีชื่อเรียก เช่น แฟลชไดร์ฟ (flash drive) ทรัมไดร์ฟ (thrum drive) เมมโมรีสติก (memory stick) ซึ่งเป็นหน่วยความจำแบบแฟลชที่ออกแบบให้สามารถเสียบต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตยูเอสบีได้โดยตรง มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก มีความจุสูงกว่า 64 กิกะไบท์ และความจุยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแฟลชนี้ทำให้การใช้งานแผ่นบันทึกข้อมูลลดความนิยมลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบแฟลช
3.8 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้หลายหน้าที่
เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากในยุคปัจจุบัน ทำให้การจัดแบ่งประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ที่รับข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น เครื่องขับแผ่นบันทึกหรือดิสก์ไดร์ฟ(disk drive) ฮาร์ดไดร์ฟ (hard drive) ซีดี/ดีวีดีไดร์ไฟ (CD/DVD drive) และอุปกรณ์ที่ทำงานหลายหน้าที่(multifunction peripheral)
สำหรับอุปกรณ์ที่ทำงานหลายหน้าที่ เป็นอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวที่ทำงานได้หลายหน้าที่ ถูกออกแบบมาเพื่อลดพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์หลายๆชิ้น ที่ส่วนภายในมีการทำงานคล้ายกัน อุปกรณ์นี้เป็นได้ทั้งเครื่องโทรศัพท์ แฟกซ์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสารหรือสแกนเนอร์ได้ในเครื่องเดียวกัน ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ทำงานได้หลายหน้าที่
เครื่องพิมพ์แบบ All in one สามารถพิมพ์ ถ่ายเอกสาร แสกน ในเครื่องเดียว
3.9 การใช้งานและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน การใช้งานต้องหมั่นดูแลรักษาอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้โดยไม่ทำให้เครื่องเสียหายก่อนเวลาอันควร ซึ่งการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์นั้น จัดแบ่งออกได้เป็นการดูแลรักษาตัวเครื่องและอุปกรณ์ภายนอก และการดูแลรักษาข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในหน่วยความจำ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาตัวเครื่องและอุปกรณ์ภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องกระทำตั้งแต่เริ่มติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยถ้าเป็นเครื่องแบบตั้งโต๊ะ ต้องจัดหาตำแหน่งวางเครื่องที่มั่นคงแข็งแรง ไม่อยู่ใกล้แหล่งความร้อน เช่น เตาปรุงอาหาร หรือแสงแดด เป็นสถานที่ที่แห้ง ไม่มีละอองน้ำกระเซ็นและจอภาพต้องไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรง นอกจากนี้เก้าอี้นั่งและโต๊ะยังจะต้องมีความสูงที่พอเหมาะ เพื่อให้ถูกต้องกับสรีระของผู้ใช้งานด้วย
การจัดห้องและดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊ก ผู้ใช้ยังจะต้องระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายเครื่องด้วยเพราะมีโอกาสเกิดความเสียหายกับฮาร์ดดิสก์และตัวเครื่องได้ง่าย
ในขณะที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ไม่ควรรับประทานอาหารขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เศษอาหารอาจตกหล่นเข้าไปในคีย์บอร์ดทำให้เกิดกลิ่นหรืออาจมีแมลงเข้าไปหาอาหารได้ หากทำเครื่องดื่มหกบนคีย์บอร์ด จะให้คีย์บอร์ดชำรุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กเสียหายได้ทันที
ไม่ควรนำอาหารมารับประทานใกล้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
หลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะจะมีฝุ่นสะสม ส่งผลให้การระบายความร้อนของเครื่องแย่ลง อุปกรณ์ภายในต่างๆสึกหรอเร็วขึ้น วิธีทำความสะอาดคือ ให้ปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟออก รวมทั้งสายที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ออกให้หมด เป่าหรือแปรงฝุ่นออกจากตัวเครื่องด้านนอก และช่องเปิดทั้งหมด เช่น ช่องใส่แผ่นบันทึก ช่องใส่แผ่นซีดี หรือช่องเสียบยูเอสบี รวมทั้งช่องระบายอากาศด้านหลังเครื่อง อาจใช้อุปกรณ์เป่าลมช่วยให้ฝุ่นหลุดออกง่ายขึ้น ให้ถอดฝาครอบเครื่องออก เป่าฝุ่นอุปกรณ์ภายในอย่างระมัดระวัง ไม่ควรใช้น้ำยาใดๆทำความสะอาด ยกเว้นถ้ามีสิ่งสกปรกเกาะแน่นตามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจใช้ผ้านุ่มชิ้นเล็กๆชุบแอลกอฮอล์ให้พอหมาดๆถูทำความสะอาดเบาๆเสร็จแล้วให้ปิดฝาครอบเครื่องดังเดิม สำหรับจอภาพให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่หรือแชมพูบิดให้หมาดเช็ดภายนอกเครื่องและบนจอภาพเท่านั้น ถ้าเป็นจอภาพแอลซีดี ให้เป่าฝุ่นออกจากจอภาพก่อนที่จะเช็ดจอภาพแต่เพียงเบาๆ เพราะอาจทำให้จอภาพเป็นรอยได้ สำหรับภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊ก ควรให้บริษัทผู้ชายทำความสะอาด เนื่องจากชิ้นส่วนเล็กและมีความซับซ้อนมาก
หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในหน่วยความจำนั้น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เปิดทำงานอยู่ควรบันทึกแฟ้มข้อมูลบ่อยๆ และปิดโปรแกรมรวมทั้งทำการปิดระบบปฏิบัติการให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนที่จะปิดเครื่อง เพื่อป้องกันข้อมูลเสียหายหรือไม่ได้บันทึก การใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆอาจทำให้เกิดไฟล์ที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งาน ผู้ใช้ควรลบไฟล์เหล่านั้นเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์สำหรับแฟ้มข้อมูลที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีพื้นที่เก็บข้อมูลมาก แฟ้มข้อมูลต่างๆ อาจถูกเก็บกระจัดกระจายอยู่ในหลายๆตำแหน่งบนพื้นที่เก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ จึงทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์กระโดดไปหาข้อมูลที่ตำแหน่งต่างๆที่อยู่ห่างกันแทนที่จะอ่านข้อมูลที่ต่อเนื่องกันไป
โปรแกรมจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์
โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นอีกโปรแกรมที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจะเกิดขึ้นกับข้อมูลอันเนื่องมาจากโปรแกรมที่ไม่ประสงค์ดีต่างๆ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยตรวจสอบแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้งาน รวมถึงที่ถูกส่งผ่านจากอินเทอร์เน็ตเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการแจ้งเตือนผู้ใช้ถ้าตรวจพบโปรแกรมที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์แฝงตัวอยู่ด้วย ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรหาโปรแกรมประเภทนี้มาติดตั้งในระบบปฏิบัติการของตนเอง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งโปรแกรมเปล่านี้จะมีทั้งที่แจกให้ใช้งานโดยไม่คิดมูลค่าและแบบที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์บ้างเล็กน้อย
โปรแกรมแอนติไวรัส